แน่นอนว่าหลายคนที่มาอ่านบทความนี้ คงมีความคิดอยากจะติดโซล่าเซลล์สำหรับบ้านอยู่อาศัย หรือแม้แต่ผู้ประกอบการที่ต้องการติดโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงานของตนเอง
หลายคนสงสัยว่ามันคืนทุนได้จริงหรอ? บางคนก็บอกไม่นานก็คืนทุน บางคนก็บอกว่าอย่าไปติดเลยไม่คุ้ม ทำไมแต่ละคนบอกไม่เหมือนกัน?
คำตอบที่ดีที่สุดคือต้องดูเป็นเคสๆไป แต่หากถามโต้งๆเลยว่า ติดโซล่าเซลล์ที่บ้านนี่มันคุ้มหรือเปล่า คำตอบคือ “ตอบไม่ได้” ซึ่งมันขึ้นอยู่กับ “ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์” “ความถูกต้องในการติดตั้ง” และ “ขนาดติดตั้งที่เหมาะสม” นั่นเอง
สารบัญ
- ดูคลิป “การคำนวณจุดคุ้มทุน การติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน และโรงงาน”
- ติดโซล่าเซลล์คุ้มแล้วหรือยัง
- พื้นฐานที่ควรรู้ ก่อนการคำนวณจุดคุ้มทุน
- คำนวณจุดคุ้มทุน ติดโซล่าเซลล์โรงงาน
- โปรแกรมคำนวณจุดคุ้มทุน ระบบโซล่าเซลล์
- สรุป
บทความต่อไปนี้ ผมสรุปมาจากคลิปด้านล่างครับ ใครขี้เกียจอ่านก็ฟังในคลิปเอานะ ใครอยากฟังใน “วิธีการคำนวณจุดคุ้มทุน การติดโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน และโรงงาน”
ถ้าใครคิดว่ามีประโยชน์ อยากสนับสนุน ฟังสาระดีๆ ช่วยกด Like กด Share กด Subscribe
ช่อง “Energy for Dummies” ให้ผมด้วยนะ
ในความเป็นจริง การคำนวณความคุ้มค่าในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นบนหลังคาบ้าน หรือโรงงานล้วนมีหลักการเดียวกัน เราควรเริ่มต้นคำนวณจากการใช้ไฟจริงๆของเราว่าในแต่ละเดือนเราใช้ไฟเท่าไหร่
และหากเราประเมินขนาดของระบบได้ถูกต้องแล้ว การคำนวณความคุ้มค่าแทบจะเป็นสูตรตายตัว ไม่ว่าระบบไหนก็คำนวณแทบจะเหมือนกันหมด
ปัญหาที่เกิดในอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ส่วนมากคือ ผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ก็อยากจะติดให้เจ้าของบ้านมากๆ ในขณะที่เจ้าของบ้าน เจ้าของโรงงานไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ติดเสร็จไม่เห็นจะลดค่าไฟได้อย่างที่ว่า
ติดโซล่าเซลล์ คุ้มแล้วหรือยัง
ซึ่งพอถามมาแบบนี้ สมมติฐานแรกที่ผมต้องตั้งขึ้นมาคือ ขนาดของระบบเรา และสภาพการติดตั้งทุกอย่างเหมาะสมดีแล้ว ซึ่งผมสรุปเงื่อนไข 3 ข้อด้านล่าง เพื่อที่จะใช้วิธีการคำนวณที่ผมกำลังจะอธิบายได้
- เราประมาณการใช้ไฟตามบทความด้านบท (ไม่มีไฟฟ้าส่วนเกินที่ปล่อยทิ้งไปเฉยๆ)
- ไม่มีเงาแดดจากสิ่งต่างๆบริเวณที่ติดโซล่าเซลล์ ในช่วง 8โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น
- การติดตั้งหันไปทิศใต้ หรือเกือบทิศใต้ก็ได้ และไม่ทำมุมเกิน 30 องศา (45 องศาจริงๆพอติดได้)
ซึ่งสมมติฐานด้านบนทำให้เราใช้ตัวเลข ชั่วโมงแสงอาทิตย์ = 4 ชั่วโมงต่อวันได้ แน่นอนว่าหลายคนสงสัยว่า เรามีชั่วโมงแสงอาทิตย์ 8โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น ทำไมถึงนับชั่วโมงแสงอาทิตย์แค่ 4 ชั่วโมง ให้ดูรูปภาพประกอบคำอธิบาย (รูปภาพจาก Enkonn Solar Energy)
เนื่องจากแสงแดดมันไม่ได้คงที่ทั้งวัน ดังนั้นเราจึงเอามันมารวมเป็น “จำนวนชั่วโมงที่ แสงแดดคงที่ๆ 1000W/m2” อันนี้อาจจะเข้าใจยากหน่อย แต่เอาเป็นว่า ชั่วโมงแสงอาทิตย์ของเมืองไทยจริงๆคือประมาณ 5 ชั่วโมง แต่ผมหักเรื่องประสิทธิภาพระบบ รวมถึงค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพแผงโซล่าเซลล์ 25 ปี เมื่อคิดเรื่องการเสื่อมของแผงโซล่าเซลล์
ดังนั้นใช้ 3.5 -4 ชั่วโมงเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างปลอดภัย สำหรับการคำนวณจุดคุ้มทุน (รูปจาก Jinko solar)
พื้นฐานไฟฟ้า สำหรับการคำนวณจุดคุ้มทุน
เรามาเข้าเรื่องคำนวณกันดีกว่า ว่าการคำนวณความคุ้มค่าของการติดโซล่าเซลล์สำหรับบ้านเรือน และโรงงานเค้าทำกันยังไง เรามาปูพื้นฐานกันก่อนนะครับ สิ่งที่เราต้องรู้คือ
- 1 หน่วยไฟฟ้า = 1kWh
- ราคาค่าไฟช่วง Peak หรือประมาน 9 โมง – 4 ทุ่ม อยู่ที่ 4.2 บาท และ off-peak อยู่ที่ 2.5 บาท โดยประมาณ
- แยกให้ออกระหว่างหน่วย kW และ kWh ครับ หากเปรียบเทียบกับน้ำ kW จะเป็นอัตรา ตัวอย่างเช่น เติมน้ำ 5 ลิตร/นาที ส่วน kWh จะเป็นปริมาน เช่น น้ำ 5 ลิตร
- หน่วย kW จะใช้ในเรื่องบอกกำลังติดตั้ง เช่น ติดตั้งโซล่าเซลล์ 5kW ราคา kW ละ 4 หมื่นบาท แปลว่าเราต้องจ่ายค่าติดต้อง 40,000 x 5 = 200,000 บาท
- บ้านปกติจะติดอยู่ที่ประมาน 5kW – 10kW สำหรับอุตสาหกรรมจะอยู่ราวๆ ไม่เกิน 1MW หรือ 1000kW ถ้าเกินกว่านี้จะมีขั้นตอนการขออนุญาตยุ่งยาก ผู้ประกอบการจึงไม่ค่อยนิยมกัน
การคำนวณสำหรับการติดโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงาน
สำหรับการคำนวนสำหรับหลังคาโรงงานอุตสหากรรม การคำนวนจะเหมือนด้านบนทุกอย่างครับ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ “ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ ซึ่งปกติสเกลใหญ่ๆ ราคาติดตั้งจะถูกกว่า โดยจะอยู่ราวๆ 20-28 บาท/Wp”
และอีกอย่างที่มีความแตกต่างชัดเจนคือ “สิทธิทางภาษี” ซึ่งใครจะขอตรงนี้ต้องเช็คดู 2 อย่างคือ
- รัฐยังให้สิทธิทางภาษี BOI หรือไม่ ในช่วงเวลาที่เรากำลังจะขออนุญาต
- การแจ้งรายได้ของบริษัท มีกำไรทางบัญชีที่จะนำไปหักภาษีหรือเปล่า ซึ่งปกติเงินลงทุนระบบจะสามารถนำมาหักภาษีได้ 50% เป็นเวลา 3 ปีครับ
ตัวอย่างการคำนวณ ขั้นตอนเหมือนเมื่อกี้เลยนะ ผมเปลี่ยนแค่ขนาดติดตั้ง และราคา
- สมมติติดตั้ง 500kW จะเท่ากับ 500,000W
- สมมติฐานค่าติดตั้งประมาน 25 บาท/W แปลว่าค่าติดตั้งเราคือ 500,000W x 25 บาท/W = 12.5 ล้านบาท
- ทีนี้ระบบเรา 500kW จะผลิตไฟได้ต่อวันเท่าไหร่ เราก็เอา 500kW x 4 sun hours = 2000 kWh
- 1 kWh ตอนกลางวัน ราคา 4.2 บาท (อุตสาหกรรมอาจแพงกว่านี้นะ) แปลว่าเราจะประหยัดไฟไป 2000kWh x 4.2บาท = 8,400 บาท ต่อวัน
- ใน 1 ปีเราจะได้ 8,400บาท x 365 วัน = 3 ล้านบาทต่อปี (อันนี้คือค่าไฟที่ลดได้นะ ดูเหมือนเยอะใช่ไหม ปกติโรงงานเค้ามีค่าไฟหลายล้านบาทต่อปีนะครับ และหากบ้านไหนที่ไม่ได้ทำงาน เสาร์ – อาทิตย์ หรือมีวันหยุดนักขัตฤกษ์โดยที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้าเลย ให้หักวันพวกนั้นออกด้วย)
- ค่าการดูแลรักษา ปกติอยู่ประมาน 10-20% ของระบบ ในระบบเล็กๆ ผมคิดที่ 10% จะได้ประมาน 3ล้าน x 10% = 3 แสนบาทต่อปี
- รายได้จากการลดค่าไฟจะเท่ากับ 3 ล้าน – 3 แสน = 2.7 ล้านบาท ต่อปี
- ดังนั้นจะคืนทุนภายใน 12.5 ล้านบาท/ 2.7 ล้านบาท = 4.6 ปี ซึ่งถือว่าคืนทุนเร็วมาก แต่มันไม่ได้มีแค่นั้นนะ
- ที่ผมบอกว่าสำหรับอุตสาหกรรมมีการยกเว้นภาษีอีก เช่น 12.5 ล้าน นำไปเป็นผลประโยชน์ทางภาษีได้ 50% เป็นเวลา 3 ปี จะเท่ากับ 6.25 ล้าน/ 3 ปี = ปีละ 2.1 ล้านต่อปี
- สมมติว่าอัตราภาษีสำหรับธุรกิจอยู่ที่ประมาน 20% (อันนี้ผมไม่แน่ใจตัวเลข แต่คิดว่าประมานนี้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่) ดังนั้นจะลดค่าใช้จ่ายไปอีก เท่ากับ 2.1 ล้าน x 20% = ตกปีละ 4 แสน!
ดังนั้น 3 ปีจะเป็นเงิน 1.2 ล้าน เหมือนกับเราได้ลดค่าระบบที่ลงทุนไป 1.2 ล้าน จะเหลือเงินลงทุนจริงๆแค่ประมาน 11.3 ล้านเอง แล้วเราก็เอา 11.3ล้าน / ด้วย 2.7 ล้าน (รายได้จากการลดค่าไฟ) จะเท่ากับ 4.2 ปี เท่านั้นเอง
เห็นแบบนี้แล้วก็ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมบริษัท หรือโรงงานใหญ่ๆแห่กันทำนะครับ
หากใครไม่ชอบการคำนวณ ผมทำ “โปรแกรมคำนวณโซล่าเซลล์ จุดคุ้มทุน Excel ไว้ให้ในลิงค์ครับ“
สรุป
ด้านบนเป็นการคำนวนจุดคุ้มทุนของการติดโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีเงื่อนไขคือ ระบบต้องมีขนาด และสภาพการติดตั้งที่เหมาะสม ถึงจะคำนวณแบบนี้ได้ ซึ่งก็จะทำให้เราไม่ต้องผิดหวังที่ผลตอบแทนไม่ได้ตามที่คาด หรือโดนผู้รับเหมาบอกให้ติดเยอะๆนะครับ
ถ้าใครคิดว่ามีประโยชน์ อยากสนับสนุน ฟังสาระดีๆ ช่วยกด Like กด Share กด Subscribe
ช่อง “Energy for Dummies ให้ผมด้วยนะ