Hybrid Inverter

Hybrid off grid inverter

*หมายเหตุ ในหน้านี้ส่วนมากผมจะพูดถึง Hybrid off-grid inverter เป็นหลักนะครับ ส่วน Hybrid on/off-grid ผมจะรวมไว้อันล่างสุด เนื่องจาก Hybrid on/off-grid ส่วนมากจะไม่ได้รับการรับรองจากการไฟฟ้า แต่จะมีบางรุ่นที่สามารถขออนุญาตได้ แต่มีเงื่อนไขบางอย่าง ลองเลื่อนอ่านช่องด้านล่างสุดนะ รวมถึงราคาแพงด้วย ทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่

ทั่วไป

  • SUOER ได้รับความนิยมทั้งตัวชาร์จเจอร์ และ inverter หลังๆมาเริ่มหันมาทำ Hybrid มากขึ้น
  • มันจะมีรุ่นที่ตัวชาร์จเจอร์เป็น PWM และ MPPT นะครับ 
  • ส่วนตัวแปลงไฟ DC ไป AC จะเป็นสวิทชิ่ง หรือหม้อแปลง ผมไม่ค่อยแน่ใจแต่ละยี่ห้อเหมือนกัน เนื่องจากหาสเปคอ่านค่อนข้างยาก 

สรุปความเห็นส่วนตัว 

เป็นยี่ห้อที่สร้างแบรนด์ในไทยพอประมาณ แต่ส่วนตัวผมยังไม่เคยใช้นะ ไว้ทดสอบจะเอามาเล่าให้ฟังครับ

ทั่วไป

  • LVTopsun เป็นยี่ห้อจีนที่ทำตลาดในไทยมาซักพัก ซึ่งผมก็พอเห็นมีคนใช้บ้าง แต่ส่วนตัวไม่เคยใช้เท่าไหร่
  • ตัวนี้ทางร้านแจ้งว่าเป็น MPPT และเป็นหม้อแปลงเทอรอยด์
  • ราคาปกติ ไม่ได้ถูกไม่ได้แพง

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวไม่เคยใช้ แต่ลองสอบถามทางร้านให้แน่ใจ เนื่องจากสเป็คเขียนไม่ชัดเจน ผมไม่สามารถบอกได้ว่าเป็น inverter แบบสวิทชิ่งหรือแบบหม้อแปลง 

แต่หากเป็นหม้อแปลงเทอรอยด์จริง ราคานี้รุ่น 3kW ตัวสีเทา ผมคิดว่าน่าสนใจเหมือนกันครับ

ทั่วไป

  • Hybrid inverter ตัวนี้เป็นตัวที่ได้รับความนิยมมาก แต่ผมไม่รู้เหมือนกันว่ายี่ห้ออะไร
  • ปัจจุบันเป็นชาร์จเจอร์แบบ MPPT แต่ตัว Inverter ผมไม่แน่ใจว่าเป็นสวิทชิ่ง หรือหม้อแปลง เนื่องจากสเป็คไม่ได้ระบุชัดเจน
  • แต่จากการดูกระแสกระชากรับได้แค่ 2 เท่า ซึ่งผมคาดว่าน่าจะเป็นสวิทชิ่งนะครับ หากเลือกใช้ตัวนี้ต้องระวังเรื่องการกระชากโหลดด้วยครับ

สรุปความเห็นส่วนตัว 

เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ราคาค่อนข้างถูก ถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆประมาณ 5 พันบาท ในขนาดใกล้ๆกัน แต่คาดว่าเป็น inverter แบบสวิทชิ่ง

หากมีงบประมาณมากขึ้นผมอาจแนะนำให้เลือกตัวที่เป็นหม้อแปลงเทอรอยด์มากกว่า

PowMr Hybrid Off-grid

PowMr hybrid inverter
สั่งซื้อ PowMr Hybrid PWM ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • PowMr เป็นยี่ห้อดังในกลุ่มโซล่าเซลล์ off-grid โดยเฉพาะโซล่าร์ชาร์เจอร์นะครับ
  • ส่วนของ Inverter ในสเป็คไม่ได้บอกว่าเป็นแบบสวิทชิ่ง หรือแบบหม้อแปลงเทอรอยด์
  • ตัวนี้สำหรับระบบ 24V 50A กำลังสูงสุด 2400W กำลังค่อนข้างต่ำ
  • ถ้าราคาเทียบกับกำลังก็ถือว่าราคาไม่ถูกนะ

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ปกติสำหรับโซล่าร์ชาร์จเจอร์ ผมจะค่อนข้างชอบยี่ห้อนี้เพราะว่าให้สเป็คค่อนข้างสูงในราคาที่ไม่แพง

แต่สำหรับ Hybrid Inverter สำหรับผมคิดว่าค่อนข้างแพงนะ เพราะเป็น PWM และคาดว่าน่าจะเป็น Inverter แบบสวิทชิ่งด้วย (ใครรู้เขียนบอกผมหน่อยนะครับ) 

ทั่วไป

  • INVT เป็นยี่ห้อที่ดียี่ห้อนึง มีผลิตภัณฑ์หลากหลายมาก มี on-grid inverter ที่ได้รับการรับรองจากการไฟฟ้า
  • ตัวนี้เป็น MPPT และเป็น inverter แบบหม้อแปลง ที่เขียนไว้ในสเป็คชัดเจน
  • เรื่องราคาไม่ได้แพงไปกว่ายี่ห้ออื่นๆมาก

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวผมถ้าจะเลือกตัวนึงจริงๆ และไม่ได้ติดเรื่องงบอะไร ผมจะเลือก INVT ครับ อย่างแรกคือเรื่องชื่อเสียงของแบรนด์

อย่างที่สองคือเป็น MPPT ครับ และอย่างสุดท้ายคือเขียนสเป็คชัดเจนว่าเป็น inverter ชนิดหม้อแปลง และบอก PEAK Power ชัดเจน

แต่ถ้าใครติดเรื่องงบหน่อย อาจจะเลือกเป็น LVTopsun ก็ได้ครับ คล้ายๆกัน ราคาถูกกว่าพอสมควร แต่ว่าสเป็คบอกไม่ได้ชัดเจนขนาดนั้น แต่ลองดูกันได้ครับ

ทั่วไป

  • ตรงนี้ผมจะเอา Hybrid on/off-grid มาแปะให้นะครับ สาเหตุที่ผลไม่ทำแยกออกมาแต่ละยี่ห้อเพราะว่า ราคามันแพง และไม่ได้รับความนิยมขนาดนั้น
  • อีกอย่างคือการทำ Hybrid on/off-grid มันต้องขออนุญาตเหมือนการทำระบบ On-grid
  • ดังนั้นประโยชน์ของระบบนี้คือแค่เผื่อไฟดับ ซึ่งสำหรับผมใครจะใช้เผื่อไฟดับผมแนะนำให้แยกโหลด แล้วใช้ระบบ off-grid ขนาดเล็ก ใช้เฉพาะไฟส่องสว่าง ตู้เย็น แล้วติด ATS สลับไฟให้ใช้ไฟบ้านเป็นหลัก
  • ส่วนใครต้องการลดค่าไฟก็ติด on-grid อีกชุดแบบนี้น่าจะประหยัดที่สุด แต่หากใครไม่ติดเรื่องงบ อยากลอง Hybrid on/off-grid ก็ลองดูได้ครับ
  • Hybrid on/off-grid ส่วนมากไม่สามารถขออนุญาตการไฟฟ้าได้นะครับ ในรุ่นที่ผมเอามาแปะมีแค่ Huawei กับ Growatt ที่ขออนุญาตการไฟฟ้าได้
  • แต่ Growatt จะขอได้เฉพาะ PEA ส่วน Huawei เป็นตัวที่ใช้กับระบบ On-grid ทั่วๆไป แต่สามารถใช้เป็น Hybrid ได้ด้วย แต่ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม และต้องใช้แบต high volt และเป็นแบตที่กำหนดมาเท่านั้น
  • ไม่สามารถใช้แบตทั่วๆไป หรือแบตที่สร้างเองได้ ซึ่งการใช้แบต High volt ค่อนข้างอันตรายหากต้องการจะทำเอง 
  • ส่วน Growatt ผมคิดว่ามีตัว Control การใช้แบตในตัว สามารถใช้แบต Low-volt (48V) ได้ แต่ราคา inverter คือแพงมากๆ

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ใครอยากลองของก็ลองดูได้นะครับ ผมเห็นหลายคนก็ใช้อยู่นะ แต่ส่วนตัวผมอย่างที่บอกไปด้านบนคือ คงจะเลือกติด On-grid ชุดนึง แล้วติด Off-grid อีกชุดขนาดไม่ต้องใหญ่

ใช้แค่ไฟส่องสว่างบางดวง และตู้เย็นกรณีฉุกเฉิน แล้วติด ATS ให้ใช้ไฟบ้านเป็นไฟหลักครับ

ประเภท Hybrid Inverter

Hybrid Inverter เป็นระบบที่คน งง มากที่สุด เนื่องจากมันมีระบบที่ทับซ้อนกัน ซึ่งผมเคยทำคลิปเรื่อง “ประเภทของ Hybrid Inverter” ไปแล้วใครขี้เกียจอ่านไปดูในคลิปได้เลยนะครับ

หลักๆระบบ Hybrid มันจะมีเป็น Hybrid on/off-grid และ Hybrid off-grid ความต่างคือ อันแรกสามารถที่จะเชื่อมกับไฟบ้านได้ สามารถจ่ายไฟย้อนกลับได้ ในขณะที่ Hybrid off-grid มันเหมือนเป็นระบบ Off-grid แต่มีชาร์จเจอร์พ่วงเข้ามาด้วย 

แต่ทั้งสองระบบจะมีความเหมือนกันคือ เราจะต้องทำการแยกโหลดที่เราต้องการจะใช้ในกรณีที่ไฟดับ ให้พูดง่ายๆก็คือ พอไฟดับ ถึงจะเป็น Hybrid on/off-grid เราก็ไม่ได้สามารถใช้ไฟกับทั้งบ้านตอนไฟดับได้อยู่ดีนะ เพราะส่วนของระบบ on-grid จะถูกตัดโดยอัตโนมัติ

ข้อดีของระบบ Hybrid

แล้วทีนี้ถามว่า ทำไมหลายคนยังใช้กันถึงแม้ว่าพวกเราจะรู้ว่ามันไม่ได้มีประโยชน์มากมายนัก สำหรับผมมันมีประโยชน์แค่การสำรองไฟตอนไฟดับ แต่หากจะใช้แค่นั้น จริงๆไม่ต้องใช้ Hybrid on/off-grid ก็ได้ เราติด On-grid 1 ชุด แล้วก็ติด Off-grid อีก 1 ชุด บวกกับ ATS แค่นี้เราก็ได้ทั้งการลดค่าไฟ และการสำรองไฟแล้วครับ

สำหรับระบบ Hybrid on/off-grid นี่ผมไม่สนับสนุนให้ใช้เลย เพราะราคาแพงมากๆ รวมถึงมันต้องของอนุญาตการไฟฟ้า ดังนั้นตัวเลือก Inverter มีน้อยมากๆ มันจะมีแค่ Huawei Sun2000 ที่ขออนุญาตได้ทั้ง PEA และ MEA แต่ก็ต้องแลกกับการซื้ออุปกรณ์เพิ่ม และต้องใช้แบตที่ทาง Huawei กำหนดเท่านั้น ซึ่งรวมทั้งสองอย่างราคาแพงมากก….

อีกยี่ห้อนึงที่ขออนุญาตได้คือ Growatt ตามลิงค์ที่ผมแปะไว้ แต่จะขอได้กับทาง PEA อย่างเดียว จะขอกับทาง MEA ไม่ได้ แต่ข้อดีของตัวนี้คือใช้แบต Low volt ได้ และไม่ได้มีการกำหนดยี่ห้อแบต ผมเดาว่าน่าจะมี Control ในตัว ราคามันถึงได้แพงขนาดนั้น

ส่วนของระบบ Hybrid off-grid ข้อดีของมันคือมัน “ง่าย” ครับ ปกติเราติดระบบ off-grid เราต้องนั่งต่อสาย หาเครื่องชาร์จที่เหมาะสม แต่ Hybrid off-grid มันเหมือนกับระบบ All-in-One คือรวมทุกอย่างแค่เสียบปลั๊กตามคู่มือแล้วก็ใช้ได้เลย เหมาะกับคนที่ไม่อยากประกอบระบบอะไรมาก แต่ยังไงก็ตามผมแนะนำว่าควร คำนวณ และดูสเป็คเป็นพอประมาณ เราจะได้ดูได้ว่าอันไหนมันเหมาะกับบ้านเรา

เลือก Hybrid Inverter ยังไง

การเลือก hybrid Inverter จะมีลักษณะคล้ายๆกับการคำนวณระบบ off-grid ครับ คือเราต้องเลือกจากการใช้ไฟฟ้าของบ้านเราเป็นหลัก ว่าใช้กำลังไฟสูงสุดเท่าไหร่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์ที่มีการกระชากไฟสูงๆหรือเปล่า ถ้าเราจะใช้กับทั้งบ้าน แล้วมีการใช้ไฟสูงๆ แค่ 1 นาที แบบนี้เราก็ต้องเลือก Inverter ที่ครอบคลุมการใช้ไฟนั้นๆด้วย 

ส่วนมากที่ต้องดู มันจะเหมือนกับระบบ off-grid เลย คือดูว่า solar charge controller ที่อยู่ใน hybrid inverter มันเป็นขนาดที่เหมาะสมหรือเปล่า ซึ่งปกติมันจะเขียนบอกว่า hybrid inverter ตัวนี้กี่ A ก็ว่ากันไป เช่น 50A 80A ซึ่งวิธีการหาก็เหมือนกับการหา solar charge controller ในระบบ off-grid 

เรื่องแบตเราก็ต้องคำนวณเช่นกัน คำนวณเหมือนในคลิปการคำนวณระบบ off-grid เลยครับ แต่หากใครไม่อยากคำนวณ อยากจะใช้แบต 100A หรือ 200A แต่ก็ไม่อยากจะให้ ATS สลับไปใช้ไฟบ้าน เราต้องเช็คด้วยว่าสเป็คชาร์จเจอร์ในตัว Hybrid inverter ของเรามันกี่ Amp กี่ Watt ดูว่าพอกำการใช้ไฟต่อเนื่องของเราหรือเปล่า ถ้าเพียงพอมันก็จะไม่สลับไปใช้ไฟบ้านครับ

แต่ผมเข้าใจว่าคนส่วนมากที่อยากติดระบบนี้คืออยากลดค่าไฟ แต่ไม่อยากขออนุญาตมั่ง แต่ก็ไม่อยากยุ่งยากมานั่งคำนวณด้วย ใช่หรือเปล่า ดังนั้นถ้าใครจะติดระบบนี้แบบไม่คิดมากก็ติดไปได้เลย ใช้แบต 100-200Ah แล้วติด ATS ถ้าไฟไม่พอก็ปล่อยมันสลับไฟบ้านไป แบบนี้ก็ทำได้เช่นกันครับ

สรุป

หลักๆ Hybrid inverter จะมี Hybrid off-grid กับ Hybrid on/off-grid ความแตกต่างคือจ่ายกลับการไฟฟ้าได้หรือไม่ ซึ่งข้อดีของระบบ Hybrid on/off-grid คือระบบเดียวใช้ไฟโซล่าร์ก็ได้ ใช้ไฟบ้านก็ได้ แต่จุดอ่อนคือราคาแพง

ส่วนระบบ Hybrid off-grid ข้อดีของมันคือง่าย แค่เสียบๆปลั๊กก็ใช้ได้แล้ว และไม่ต้องขออนุญาต แต่หากต้องการจะให้ระบบใช้ไฟจากโซล่าเซลล์เป็นหลักควรคำนวณอย่างถูกต้อง แต่หากใครไม่ได้สนใจมากก็ติดระบบขนาดไหนก็ได้ แล้วติด ATS เอา ก็อาจจะมีสลับไฟไปมาบ้าง แต่ก็ใช้ได้เหมือนกัน สำหรับคนที่ต้องการเน้นความง่ายครับ