แผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ยี่ห้อไหนดี

ข้อดี

  • เป็นแผง Tier 1

ข้อเสีย

  • ราคาโอเคครับ ไม่ได้ถูก แต่ก็ไม่ได้แพงครับ
  • ความทนทานยังไม่ทราบตอนนี้ครับ ต้องรอทดสอบระยะยาว

สรุปความเห็นส่วนตัว 

เป็นยี่ห้อที่มีชื่อเสียงใช้ตามโครงการใหญ่ๆ ผู้ขาย (Godangfaifa) มีความน่าเชื่อถือครับ ค่าส่งแผงละ 100บาท ราคาในลิงค์ยังไม่รวม Vat ครับ แต่รวมแล้วราคาถือว่ายังโอเคอยู่ครับ

ข้อดี

  • เป็นแผง Tier 1
  • มีแบบ Full-cell และ Half-cell ให้เลือก

ข้อเสีย

  • ราคาที่ขายในไทยยังสูงกว่า Tier 1 อย่าง Jinko
  • ความทนทานยังไม่ทราบตอนนี้ครับ ต้องรอทดสอบระยะยาว

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวผมหากจะใช้บนหลังคาบ้านคงเลือกแผง Tier 1 ส่วนจะยี่ห้อไหนดีนี่ผมคิดว่าลองเลือกที่ราคาได้เลย เน้นที่ราคาถูกหน่อย และร้านที่ขายดูน่าเชื่อถือ บางร้านเป็นของปลอม บางร้านเป็นแผงเกรด B เกรด C

ร้านนี้ผมยังคอนเฟิมไม่ได้ว่าเป็นแผงเกรดไหน เรื่องเกรดของแผงนี่เป็นเรื่องของความไว้ใจต่อร้านเลย ดูค่อนข้างยาก แต่เรื่องแผงปลอมผมยังไม่เห็นมีคนที่ซื้อไปกลับมาบ่นนะ

ส่วนประกัน แผงจะมีประกันอยู่แล้ว แต่อย่าคาดหวังมากนะ ถ้าซื้อไม่กี่แผง ทางร้านคงไม่ได้ดูแลเรามาก และเราก็คงไม่ส่งกลับไปจีนเพื่อไปเคลมด้วยตัวเอง แต่ถ้าร้านมีเขียนว่ารับประกันก็ดีครับ

ข้อดี

  • เป็นแผง Tier 1 
  • มีเป็นแบบทั้ง Full-cell และ Half-cell ให้เลือก
  • ราคาที่ขายออนไลน์ค่อนข้างถูก ราคาสูงกว่าแผงที่ไม่ใช่ Tier 1 นิดเดียว

ข้อเสีย

  • ความทนทานยังไม่ทราบตอนนี้ครับ ต้องรอทดสอบระยะยาว

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวถ้าหากซื้อแผงมาใช้ผมอาจจะซื้อยี่ห้อนี้นะ เพราะราคาไม่แพงแล้วได้เป็นแผง Tier 1 ด้วยครับ เป็นแผงที่ผมได้ยินหลายๆบริษัทเลือกใช้สำหรับโซล่าฟาร์มนะ

ร้านที่ผมเอามาโพส 2 ลิงค์แรกของหมดบ่อย ส่วนร้านที่ 3 กับร้านที่ 4 ชื่อร้านว่า Baan Solar Cell ผมค่อนข้างมั่นใจว่าร้านนี้ขายของแท้นะ เพราะเค้ามีใบรับรองทุกอย่างครบถ้วนครับ ส่วนราคาแผง 440W ไม่แพงด้วยนะ ลองดูครับ

หากเพื่อนๆคนไหนมีร้านแนะนำ หรือเป็นร้านของตัวเองที่มั่นใจว่าเป็นของแท้ ของดี ราคาไม่แพง เอาลิงค์มาฝากกันได้

แต่ร้านไหนเป็นของปลอมอย่าเอามาฝากกันนะครับ ถ้าเอามาฝากแล้วผมพบเจอว่าเป็นของปลอม หรือเกรด C แล้วเอามาขายเป็นเกรด A ผมจะเอาผิดทางกฎหมายนะครับ

ร้านในลิงค์ที่ 3 ทางร้านฝากมาครับ สำหรับใครที่อยู่อุบล ลองดูได้ครับ มีใบยืนยันการสั่งซื้อจากทาง Jinko แล้วก็แฟลชรีพอร์ทครบถ้วนดี ส่วนราคาสำหรับแผง 465-535W ราคาอยู่ราวๆ 4370-5030 บาท ยังไม่รวม VAT ค่าส่งตามระยะทางครับ 15 แผงส่งฟรี ใครอยู่แถวอุบลหรือใกล้ๆก็ลองคุยกับทางร้านได้ครับ

 

ข้อดี

  • เข้าใจว่าน่าจะเป็นบริษัทลูกของ Suntech
  • หาแผงกำลังสูงๆได้ง่ายกว่า ตัวนี้สูงสุด 450W

ข้อเสีย

  • ไม่ใช่แผง Teir1 แต่ราคาใกล้เคียงกัน
  • ไม่มีเว็บไซต์บอกสเปคที่น่าเชื่อถือ
  • ความทนทานยังไม่ทราบตอนนี้ครับ ต้องรอทดสอบระยะยาว

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวถ้าไม่ได้มีความจำเป็นที่จะใช้แผงขนาด 450W อาจจะเลือกซื้อเป็นแผง Tier1 ไปเลยนะ หรือไม่ก็เลือกยี่ห้ออื่นที่ราคาถูกกว่านี้

ข้อดี

  • มีแผงหลายขนาดให้เลือก มีตั้งแต่ 50W 100W 160W 170W จนถึงแผงขนาดใหญ่ๆอย่าง 445W
  • แผงขนาดเล็กๆ อย่าง 160-170W มักจะนิยมใช้ในระบบขนาดเล็กอย่าง 12V ทำให้สามารถใช้ Solar Charge Controller แบบ PWM ได้โดยไม่เกิดพลังงานสูญเสียมาก
  • มีแผงขนาดเล็กพกพาสะดวก

ข้อเสีย

  • ราคากลางๆ ไม่ได้ถูกมาก ยิ่งแผงเล็กประสิทธิภาพต่ำ ราคาต่อ Wp ยิ่งสูง
  • ความทนทานยังไม่ทราบตอนนี้ครับ ต้องรอทดสอบระยะยาว

สรุปความเห็นส่วนตัว 

หากต้องการใช้กับระบบเล็กๆผมจะเลือกแผงยี่ห้อนี่ครับ เพราะแผงยี่ห้ออื่นส่วนมากจะเป็น 60 cells ขึ้นหมด

ข้อดี

  • เป็นแผง Tier 1
  • ราคาที่ขายออนไลน์ไม่แพงไม่ถูก ราคาต่อวัตต์แพงกว่า Jinko ราคาค่าจัดส่งค่อนข้างสูง ประมาณ 500 บาท
  • แผง Longi ค่อนข้างมีชื่อเสียง แต่ก่อนไม่ค่อยมีแผงปลอม ปัจจุบันเริ่มมีให้เห็น

ข้อเสีย

  • หาค่อนข้างยากในตลาดไทยครับ ไม่ค่อยมีใครเอาเข้ามาขายเท่าไหร่ ในไทยมีแค่ขนาด 440W ที่เอามาขายอยู่ตอนนี้ ส่วนมากจะขายทั้ง Pallet เลย

สรุปความเห็นส่วนตัว 

Longi เป็นแผงที่มีเชื่อเสียงมากครับ แต่ยังไม่ค่อยมีคนเอาเข้ามาขายในไทย เท่าที่เจอตอนนี้มี 2 ร้านครับ ผมเห็นมีหลายร้านขายอยู่ แต่ส่วนมากผมดูๆแล้วไม่น่าจะใช่แผงจริง 

หากใครสนใจแผง Longi ลองดูในลิงค์ข้างๆดู ร้านแรกส่วนตัวผมเองยังไม่เคยสั่ง ผมพยายามขอใบรับรองแต่ทางร้านไม่มีให้ แต่ทางร้านยืนยันว่าเป็นของแท้นะครับ รูปภาพร้านก็ดูน่าเชื่อถือใช้ได้ครับ

ส่วนร้านที่ 2 เป็นของร้านชื่อ Godangfaifa เป็นร้านโดย Gunkul ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน ที่ทำเกี่ยวกับโซล่าฟาร์มอยู่แล้ว ผมได้ลองสั่งมาเป็นตัวอย่าง ผมค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นของแท้ครับ ที่สำคัญคือราคาถูกกว่าร้านแรก และค่าส่งถูกกว่าด้วยนะ ยังไงถ้าใครจะซื้อแนะนำลิงค์ด้านล่างครับ 

ข้อดี

  • เป็นแผง Tier 1 ที่เราไม่ค่อยได้ยินชื่อเท่าไหร่ แต่จริงๆอยู่อันดับต้นๆ
  • ราคาที่ขายถือว่าราคาดีเลย ถ้านับว่าเป็นแผง Tier1 นะ
  • ร้านที่ผมโพสเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยตรงครับ แผงรับประกันโดยศูนย์ไทยครับ

ข้อเสีย

  • มีให้เลือกไซต์เดียว

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ผมคิดว่าเป็นยี่ห้อที่น่าซื้อยี่ห้อนึงเลยนะ ยิ่งเราสามารถซื้อจากตัวแทนได้โดยตรง ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นแผงปลอม ราคาไม่แพงด้วย สำหรับใครที่ต้องการแผงวัตต์ประมาณนี้ผมว่ายี่ห้อนี้น่าสนใจมากๆ

ข้อดี

  • เป็นแผง Tier 1 
  • เป็นแผงแบบ Half-cell
  • แผงขนาดใหญ่ที่สุดที่มีในตลาดในปัจจุบัน ขนาด 540W

ข้อเสีย

  • มีให้เลือกไซต์เดียว

สรุปความเห็นส่วนตัว 

เป็นแผงอีกยี่ห้อที่น่าซื้อครับ เนื่องจากร้านที่ผมโพสคือ Godanfaifa by Gunkul ซึง Gunkul เป็นบริษัทมหาชน และมีความน่าเชื่อถือครับ ไม่ต้องกังวลว่าจะได้แผงปลอมมานะ ที่สำคัญคือค่าส่งถูกมากๆ แค่แผงละ 100 บาท แต่ราคาที่เห็นยังไม่รวม vat นะครับ

ข้อดี

  • เป็นแผง Tier 1 
  • เป็นแผงแบบ Poly Half-cell
  • เป็นแผงที่สมัยก่อนมีชื่อเสียงมาก ถึงแม้ปัจจุบันอันดับจะตกไปบ้าง แต่ยังอยู่ใน Tier1

ข้อเสีย

  • หาของค่อนข้างยาก

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ร้านที่ผมโพสคือ Godanfaifa by Gunkul ส่วนแผง Canadian เป็นแผงที่มีชื่อเสียงมาก ตั้งแต่สมัย Jinko JA ยี่ห้อของจีนมาตราฐานยังไม่ค่อยดี

สมัยก่อน Canadian ถือเป็นแผงที่ราคาแพงกว่าแผงยี่ห้อทั่วๆไป แต่ปัจจุบันราคาค่อนข้างใกล้เคียงกันทุกยี่ห้อ รวมถึงประสิทธิภาพด้วย

วิธีการเลือกแผงโซล่าเซลล์

หากเรายังเป็นมือใหม่ ยังไม่ทราบวิธีการเลือกแผงโซล่าเซลล์ ให้เราดูที่ลักษณะการใช้งานก่อนเป็นอันดับแรก ว่าการใช้งานเราเป็นแบบไหน บางคนใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง รถบ้าน หรือใช้ท่องเที่ยวอย่างแคมป์ปิ้ง การใช้แผงใหญ่ๆคงไม่เหมาะ 

ถ้าขี้เกียจอ่านไปดูคลิปและบทความ “การเลือกแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งานของเรา”

บางคนใช้บนหลังคาบ้านมีพื้นที่เพียงพอ ไม่ต้องย้ายแผงไปๆมาๆ การใช้แผงขนาดใหญ่จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ซึ่งแผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ ก็จะตามมาด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และราคาต่อกำลังติดตั้งที่ถูกลง

แผงจะเล็กจะใหญ่มันขึ้นอยู่กับ ขนาดเซลล์ และจำนวนเซลล์ที่อยู่บนแผงนั่นเอง แผงโซล่าเซลล์ประกอบไปด้วยเซลล์ขนาดประมาณฝ่ามือเรา ประกอบเป็นวงจรเข้าด้วยกันเป็นจำนวนตั้งแต่ 12 เซลล์ จนถึง 72 เซลล์ ยิ่งเซลล์มาก voltage ก็จะสูงตามไป และยิ่งเซลล์ขนาดใหญ่ ก็จะทำให้กระแสสูงขึ้นนั่นเอง

โดยในแต่ละเซลล์ (สำหรับโซล่าร์เซลล์ที่ทำจากซิลิคอน) จะมีค่า voltage ต่อเซลล์อยู่ที่ประมาณ 0.5-0.7V ดังนั้นหากดูแผงโซล่าเซลล์ที่มี 72 เซลล์ เราจะได้ค่า voltage ของแผงอยู่ราวๆ 36 – 50V โดยประมาณ

ดังนั้นยิ่งมีจำนวนเซลล์มากแผงก็ยิ่งมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขึ้น หากใครคิดว่าแผงโซล่าเซลล์มีน้ำหนักเบาละก็ อาจจะคิดผิด ถ้าแบบ72 เซลล์ บางทียกคนเดียวอาจจะไม่ไหวด้วยซ้ำ (ขนาด 2 x 1 เมตร น้ำหนัก 25 กิโลกรัมโดยประมาน)

หากใครต้องการติดหลังคาบ้านผมแนะนำใช้ 72 เซลล์ หรือ 60 เซลล์ไปเลย เพราะยิ่งเซลล์เยอะ ประสิทธิภาพและราคาต่อวัตต์ก็จะถูกกว่าครับ

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ ที่ได้รับความนิยม

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ก็มีเรื่องที่ต้องคิดเช่นกัน ปกติประเภทของแผงโซล่าเซลล์จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือ Mono, Poly และ Thin-film โดยมากจะนิยมใช้อยู่แค่ 2 ประเภท คือ Mono และ Poly ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า และการใช้งานคงทนกว่า

ส่วนใครจะเลือกแผง Mono หรือ Poly ก็สุดแล้วแต่ว่าเพื่อนๆจะหาแบบไหนได้ถูกกว่า เรามักได้ยินว่าแผง Mono ราคาสูงกว่าแผง Poly แต่ประสิทธิภาพแผง Mono ก็สูงกว่าเช่นกัน

หรือบางคนอาจเคยได้ยินว่า ถ้าใช้ในเมืองไทย Poly ดีกว่า หรือ Poly ทำงานได้ดีกว่าในช่วงแดดเปรี้ยงๆ แต่ Mono ทำงานได้ดีกว่าในช่วงเช้าและเย็น หากใครอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ “แผง Mono หรือ Poly เหมาะกับประเทศไทยมากกว่า” ผมอยากจะบอกว่าจริงๆเราไม่ต้องใส่ใจมาก แค่เป็น Mono หรือ Poly ก็พอ อันไหนราคาถูกก็เอาอันนั้น ประสิทธิภาพมันไม่ต่างกันขนาดนั้น ให้เน้นที่การเลือกผู้ขายที่น่าเชื่อถือดีกว่า “ซื้อแผงโซล่าเซลล์ ได้ที่ไหน ที่มีความน่าเชื่อถือ และได้แผงแท้”

ส่วนราคา Mono หรือ Poly อันไหนถูกกว่า ปกติ Poly จะถูกกว่าเล็กน้อย แต่เคสนี้ใช้ไม่ได้กับประเทศไทยเท่าไหร่ เพราะการใช้งานยังไม่แพร่หลายผู้จำหน่ายมีน้อยราย ราคาจากโรงงานต่างกันก็จริง แต่ค่าขนส่งกลายเป็นต้นทุนหลักของแผงโซล่าร์เซลล์ในประเทศเรา

เปรียบเทียบชนิดโซล่าเซลล์

ทำไมจึงควรเลือกแผง Tier 1

อีกคำแนะนำนึงในการเลือกแผงโซล่าเซลล์คือ พยายามเลือกแผงที่อยู่ใน Tier1 ที่ราคาไม่แพงจนเกินไป และผู้จำหน่ายน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะหากติดบนหลังคาบ้านที่สูงและมองเห็นได้ยาก เพราะว่าหากใช้แผงที่ไม่ได้คุณภาพ จะมีความเสี่ยงเรื่องการเกิดเพลิงไหม้ และยิ่งอยู่ในที่ลับตาที่มองเห็นได้ยาก การดับไฟอาจจะไม่ทันการ (สามารถดูยี่ห้อแผงใน Tier1 ได้ที่ Latest Tier-1 Panels List 2020)

แต่หากยังอยากประหยัดงบลองดูพวกแผงที่มีรีวิวที่ดีดูครับ อย่างแผง Sun Power ผมเห็น SCG เค้าใช้ในการติดตั้งแพคเกจราคาถูกให้กับลูกค้า ก็น่าจะเชื่อถือได้พอประมาณ

แผงอีกยี่ห้อนึงที่ผมค่อนข้างจะเชื่อถือคือ Amily เพราะเป็นแผงที่ทางอาจารย์ของผมที่ผมเคยเรียนติดตั้งโซล่าเซลล์ on-grid เป็นผู้นำเข้า (Nine Solar Power) ไว้ผมจะลองซื้อมาทดลองให้ดูนะ

แผงอีกยี่ห้อที่ผมเห็นขายเยอะ และผมกำลังจะทำการทดลองคือ LVTopsun  แต่ยังไงถ้าจะใช้แผงพวกนี้ผมแนะนำใช้กับบ้านที่ไม่ใหญ่มาก และเรามองเห็นแผงได้ตลอด หรือพวกโซล่าร์ที่ติดบนพื้นดินก็ใช้ได้ครับ

ลิส solar tier1 2020

สรุป

หลักๆการเลือกแผงก็จะมีประมาณนี้ครับ สรุปคร่าวๆคือ เลือกขนาดก่อนตามการใช้งาน หลังจากนั้นให้เลือกแผงชนิด Mono หรือ Poly ครับ หากใช้ในบ้านที่หลังคาสูง หรือมองเห็นได้ยาก ให้ใช้แผงที่มีคุณภาพอยู่ใรลิส Tier 1 ครับ ง่ายๆเท่านี้ครับ

สำหรับเพจนี้ผมจะเน้นเป็นเรื่องของโซล่าร์เซลล์ off-grid แบบทำเองได้มากกว่า อย่างรถบ้าน บ้านสวน พื้นที่ห่างไกล หรือการใช้ในสวนในไร่เพื่อการเกษตร เพราะพวกนี้ทำเองได้ครับไม่ยากอะไร สามารถเอาแบบวงจรของผมแล้วไปซื้ออุปกรณ์ ดูวิธีการทำในช่องผม และสามารถลงมือทำเองได้เลยครับ