สายไฟโซล่าเซลล์

สายไฟโซล่าเซลล์ PV1-F

ทั่วไป

  • สาย PV1-F เป็นสายทน UV ครับ แนะนำให้ใช้ช่วงตั้งแต่แผงโซล่าร์จนถึง solar charge controller เนื่องจากโดนแดดอยู่ตลอดเวลาครับ
  • โดยปกติจะมี 2 ขนาดที่หาค่อนข้างง่ายคือ 4 sqmm กับ 6 sqmm
  • ผมแนะนำว่าถ้าติดขนานเกิน 2 แผง หรือระยะทางเกิน 10 เมตร แนะนำให้ใช้ขนาด 6 sqmm ไปเลยครับ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : สูง

  • จำเป็นต้องซื้อไว้ครับ ไม่ควรใช้สายปกติเพราะฉนวนจะเสื่อมอย่างรวดเร็วเมื่อโดนแดด

ทั่วไป

  • สาย THW เป็นสายที่หาได้ทั่วไปครับ ผมใช้สายประเภทนี้ทั้งระบบส่วนที่ถัดจาก solar charge controller เป็นต้นมา
  • ในความเป็นจริงสายที่อยู่ใกล้แบตเตอรี่ หากเป็นแบตตะกั่ว จะต้องใช้สายอีกมาตรฐานนึงที่เป็นแบบทนเคมี แต่หากใช้แบตลิเธียม อาจจะไม่ได้จำเป็นขนาดนั้นครับ
  • ส่วนยี่ห้อสายที่ผมชอบจะเป็น BCC กับ Yazaki ซึ่งขนาดทองแดงจะใหญ่กว่ายี่ห้ออื่นๆ แต่สองยี่ห้อนี้ หาแบบตัดแบ่งยากครับ ผมจึงหาของ United มาให้ครับ ซึ่งคุณภาพก็พอใช้ได้ครับ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : สูง
  • สายนี้ใช้เยอะครับ แต่ไม่ต้องซื้อยาวมากนะ เพราะส่วนมากอุปกรณ์จะอยู่ใกล้กันหมด

สายไฟชนิดไหน เหมาะกับงานโซล่าเซลล์

สายไฟโซล่าเซลล์ ชนิด PV1-F

สายไฟโซล่าเซลล์ จริงๆแล้วมีอยู่ประเภทเดียว จะมีชื่อเรียกว่า PV1-F สายประเภทนี้โดยปกติเราจะใช้ในจุดใดก็ตามที่โดนแดดบ่อยๆ และถ้าเราไปนั่งหาในตลาดออนไลน์ทั่วไป เราจะเจอสาบเบอร์ 4 sqmm กับ 6 sqmm

ส่วนสายใหญ่กว่านี้จริงๆแล้วมีผลิตแต่จะหาไม่ค่อยได้ ต้องซื้อจากทางบริษัทโดยตรง แต่งานในระบบเล็กๆทั่วไปไม่น่าจะเกินนี้ เพราะสายมันทนกระแสได้สูงอยู่แล้ว

ดังนั้นในการหากเรามีความจำเป็นต้องลากสายระยะไกลมากๆ หรือกำลังติดตั้งสูงๆ แนะนำออกแบบระบบที่มี voltage สูงหน่อย สายประเภทอื่นๆผมไม่ค่อยแนะนำนะ เพราะส่วนมากสายไฟที่ลากจากแผงจะโดนแดดตลอดเวลา

ถึงแม้จะร้อยท่อผมก็ไม่ค่อยแนะนำให้ใช้สายประเภทอื่นอยู่ดี เพราะเราไม่สามารถร้อยท่อได้ทุกส่วนครับ ส่วนมากใต้แผงจะใช้เป็นการผูกติดกับโครงซะมากกว่า ดังนั้นมันก็จะมีบางส่วนที่โดนแดดบ่อยๆ

หากไม่ทน UV ใช้ไปไม่กี่ปีจะทำให้ฉนวนเสื่อมและขาด ซึ่งจะทำให้เกิดความอันตรายได้ มีสายประเภทอื่นๆที่พอใช้ทดแทนได้ แต่ในไทยหายากพอกัน ผมเลยไม่ขอพูดถึง

สาย PV1-F ปกติจะเป็นสายที่ทนกระแสได้ค่อนข้างสูงกว่าสายไฟทั่วๆไป ในตารางสเป็คต่างๆก็จะเป็นค่าการทนกระแสที่อุณหภูมิสูงอยู่แล้ว เวลาเราคำนวณขนาดสายมันเลยง่ายหน่อยนะ ใช้เลขกระแสจากตารางได้เลย

หากใครอยากรู้วิธีคำนวณขนาดสายไฟต่างๆไปดูคลิปและบทความ “วิธีคำนวณหาขนาดสายไฟ ในระบบโซล่าเซลล์ off-grid” ดูนะครับ

สายไฟ THW การนำมาใช้กับงานโซล่าเซลล์

สายในระบบที่ไม่โดนแดดส่วนมากผมจะนิยมใช้ THW ซึ่งเป็นสายประเภทที่หาได้ตามท้องตลาดทั่วไป แต่หากระบบเราใช้แบตตะกั่ว หรือ Lead-acid ผมอาจจะแนะนำให้ใช้เป็นสายประเภท THWN-2 มากกว่า

เนื่องจากแบตตะกั่วพวกนี้จะปล่อยก๊าซถึงแม้จะเป็นแบตแบบแห้งก็ตาม ซึ่งอาจเกิดการกัดกร่อนจากพวกไอน้ำมัน หรือสารเคมีได้เนื่องจากถูกโค๊ทโดยไนลอน แต่ในประเทศเราหาสายแบบอื่นนอกจาก THW ยากมาก

ถ้าหาได้ก็ขายเป็นม้วนใหญ่ๆเลย ซึ่งระบบเราเล็กนิดเดียวซื้อเป็นร้อยเมตรราคาเป็นพันๆหมื่นๆบาทคงจะไม่คุ้มเท่าไหร่ หากใครหาไม่ได้ แล้วจำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ตะกั่ว ก็หมั่นตรวจเช็คสายไฟใกล้บริเวณแบตเตอรี่บ่อยๆหน่อยครับ

กลับมาที่สาย THW สายพวกนี้หาซื้อได้ทั่วไปเลย แต่สายขนาดใหญ่หายากพอสมควร อย่าง Homepro ขนาดใหญ่สุดน่าจะอยู่ราวๆ 10-16 sqmm ส่วนไทยวัสดุจะมีขนาดใหญ่สุดประมาน 25 sqmm สำหรับแบบตัดแบ่งขาย แต่ราคาต่อเมตรก็แพงใช้ได้เลย ตกเมตรละ 120-130 บาท เป็นสายของ BCC คุณภาพจะดีหน่อยครับ ทองแดงใหญ่กว่าสายยี่ห้ออื่นๆ

โดยปกติผมจะชอบสายยี่ห้อ BCC กับ YAZAKI สองยี่ห้อนี้ดีทั้งฉนวน แล้วก็ทองแดงใหญ่กว่ามาตรฐาน ส่วนสายยี่ห้ออื่นอย่าง ANT UNITED ก็ถือว่าได้มาตรฐาน และราคาไม่แพงมาก คุณภาพพอใช้ได้ ร้านที่ผมหาได้จะมีแต่ของ UNITED ที่แบ่งขายครับ ลองซื้อมาก็โอเคใช้ได้ดีครับ แต่อย่าซื้อพวกสายโนเนมนะ ลองซื้อมาแล้วไม่ไหวเลย ฉนวนดูไม่น่าจะทนเท่าไหร่

หากใครเลือกใช้สายยี่ห้ออื่นๆที่ไม่ใช่ BCC หรือ Yazaki ให้เลือกซื้อหางปลาที่ขนาดเล็กกว่าสาย 1 เบอร์นะครับ ไม่งั้นจะหลวมเกินไปครับ หรืออาจจะลองซื้อเป็นหางปลาชุด แล้วลองใส่ก่อนก็ได้ พอเรารู้แล้วว่าต้องใช้หางปลาเบอร์ไหนค่อยซื้อเป็นเบอร์ๆไป

จริงๆสายแต่ละยี่ห้อมันจะมีขนาดทองแดงบอกแหละ เบอร์เดียวกันแต่ขนาดมันไม่ค่อยเท่ากัน ถ้าใครขยันหน่อยก็ไปดูขนาดทองแดง แล้วเอามาคำนวณขนาดเทียบกับหางปลาเอาก็ได้