ตัวยึดแผงโซล่าเซลล์

ตัวยึดแผงโซล่าเซลล์

รางยึดแผงโซล่าเซลล์

รางยึดแผงโซล่าเซลล์
สั่งซื้อ รางยึดแผงโซล่าเซลล์ ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • รางสำหรับยึดแผงโซล่าเซลล์ ใช้ได้ทั้งการติดบนหลังคา และติดบนพื้นดิน

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ต้องใช้ในการจับยึดแผงทุกรูปแบบ

ทั่วไป

  • ตัวยึดแผงระหว่างกลาง กรณีมีมากกว่า 1 แผงขึ้นไป
  • ต้องดูความหนาของแผงด้วยครับ มีตั้งแต่ 30-40 เซนติเมตร

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ต้องใช้ในการจับยึดแผงทุกรูปแบบ

ทั่วไป

  • Earth Plate เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับ Mid Clamp เป็นชิ้นส่วนที่จิกลงบนแผง 2 แผง
  • เพื่อให้เกิดการไหลของไฟฟ้าระหว่างแผง เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อสายกราวน์ในทุกๆแผงโซล่าเซลล์

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ทั่วไป

  • ตัวยึดที่ปลายของแต่ละแถว คล้ายกับ Mid Clamp แต่ไม่จำเป็นต้องมี Earth Plate และใช้จำนวนน้อยกว่า

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ทั่วไป

  • ตัวยึดสายดิน ที่ปลายรางของแต่ละแถว ใน 1 รางควรต่อสายดิน 1 จุด โดยในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องต่อสายดินในทุกๆแผง
  • เนื่องจากนิยมใช้ Earth plate มากขึ้น และทำการต่อสายกราวแค่รางละ 1 จุด

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ทั่วไป

  • อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ช่วยยึดระหว่างรางโซลาร์ กับตัวยึดกับหลังคา
  • ส่วนมาก D Nut จะมากับตัวจับยึดกับหลังคาอยู่แล้ว ต้องลองตรวจสอบดูอีกทีครับ

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ตัวเชื่อมราง

Connecting rail
สั่งซื้อ ตัวเชื่อมราง ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • เนื่องจากรางสำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ส่วนมากจะมีความยาวราวๆ 2.1-2.2m

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ขายึดโซล่าเซลล์ หลังคา CPAC

CPAC solar panels mounting
สั่งซื้อ ขายึด CPAC ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • อันนี้เป็นขายึดรางสำหรับหลังคา CPAC นะครับ

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ขายึดโซล่าเซลล์ หลังคาเมทัลชีท (แบบน๊อต)

Metal sheet mounting
สั่งซื้อ ขายึดเมทัลชีท แบบน๊อต ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • อันนี้เป็นขายึดรางสำหรับหลังคาเมทัลชีท แบบน๊อตยึด 
  • ลองดูหลังคาด้วยนะครับว่าใช้แบบไหน มีสองแบบ แบบน๊อตยึด กับแบบคลิปล๊อค
  • หลังคาเมทัลชีทที่ต้องใช้ตัวยึดแบบนี้ต้องยิงซิลิโคลนเพื่อให้มั่นใจว่าน้ำไม่รั่ว และต้องทดสอบการรั่วหลังติดตั้งด้วยครับ

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ขายึดโซล่าเซลล์ หลังคาเมทัลชีท (แบบคลิป)

clip lock solar mounting
สั่งซื้อ ขายึดเมทัลชีท แบบคลิป ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • อันนี้เป็นขายึดรางสำหรับหลังคาเมทัลชีท แบบคลิปล็อค ข้อดีคือไม่เกิดการรั่วซึมแน่นอน แต่ต้องหมั่นเช็คว่าน๊อตคลายหรือไม่ 
  • ลองดูหลังคาด้วยนะครับว่าใช้แบบไหน มีสองแบบ แบบน๊อตยึด กับแบบคลิปล๊อค

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ขายึดโซล่าเซลล์ หลังคาลอนคู่

Roman tile mounting
สั่งซื้อ ขายึดกระเบื้องลอนคู่ ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • หน้าตาจะคล้ายตัวยึดเมทัลชีทแบตน๊อต ขั้นตอนการติดตั้งคล้ายกันคือต้องทำการยิงซิลิโคลนเมื่อติดตั้งเสร็จ
  • ในการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาลอนคู่ ควรใช้ความระมัดระวังอย่างสูง เนื่องจากเป็นหลังคาที่มีการแตกบ่อยมากที่สุด

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: สูง

ขาตั้งโซล่าเซลล์ แบบปรับระดับ

ขาตั้งแผงโซล่าเซลล์
สั่งซื้อ ขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • ขาตั้งโซล่าเซลล์แบบปรับระดับได้ มี 2 ความสูงคือ 70 เซนติเมตร และ 40 เซนติเมตร
  • การตั้งขาตั้งที่ถูกต้องควรติดกับฐานปูนที่มั่นใจว่าไม่ทรุด เนื่องจากการทรุดของแต่ละขาที่ไม่เท่ากัน อาจจะทำให้แผงบิดและแตกภายในแผงได้
  • ใน 1 ชุดจะมีทั้งหมด 4 ขา (ขายาว 2 ขา ขาสั้น 2 ขา) เพื่อให้ตั้งทำมุมใกล้เคียง 15 องศา 
  • ใน 1 ชุด จะสามารถติดตั้งได้เพียงแผงเดียว เนื่องจากรางปกติมีความยาว 2.1-2.2 เมตร หากต้องการติดราง 2 เมตร ต้องมีขาเสริมตรงกลางด้วย ไม่งั้นราวจะแอ่น ดังนั้นหากใครใช้กับราง 2 เมตร อาจจะต้องซื้อ 2 ชุด

ความจำเป็น

ระดับความจำเป็น: กลาง

การยึดแผงโซล่าเซลล์ ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง

ในการยึดแผงโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะยึดบนดิน ยึดบนหลังคาไม่ว่าประเภทไหนก็ตาม อุปกรณ์ส่วนมากจะมีความคล้ายคลึงกันทั้งหมด จะต่างกันแค่ตัวยึดหลังคาแต่ละประเภท ซึ่งผมจะอธิบายในหัวข้อถัดไป

ในหัวข้อนี้เรามาดูก่อนว่าในการยึดแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรที่สำคัญบ้าง สิ่งแรกที่สำคัญก็คือ“รางยึดแผง” นั้นเอง ซึ่งรางนี้จะมีความพิเศษกว่าเหล็กกล่องทั่วๆไปคือ มีร่องต่างๆที่ทำมาสำหรับอุปกรณ์จับยึด ทำให้สามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเชื่อมเหล็ก ซึ่งอาจทำให้แผงเสียหายหรือเสื่อมเร็วขึ้นถึงแม้จะมองด้วยตาไม่เห็นก็ตาม

อุปกรณ์ถัดมาที่สำคัญก็คือ Mid clamp เป็นตัวยึดระหว่างแผง 2 แผงอยู่ตรงกลาง อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะ งง ผมอธิบายก่อนว่า การยึดแผงมันเป็นแค่การใช้ตัวหนีบแผง 4 จุด ไม่ได้มีการเจาะหรืออะไรนะครับ ซึ่งตัว Mid clamp เป็นอุปกรณ์ที่หนีบแผง 2 แผงเข้าด้วยกัน

ตัวต่อมาที่มักใช้กับ Mid clamp คือ Earth plate  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะทำให้แผงแต่ละแผงมีกราวด์ต่อถึงกัน ไม่จำเป็นต้องนั่งต่อสายกราวด์เข้าทีละแผง ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเจ้า Earth plate จะวางอยู่ใต้ Mid clamp เมื่อทำการขัน Mid clamp ให้แน่น มันจะจิกเข้าไปในเนื้อแผงที่เป็นโลหะ ทำให้ความเป็นตัวนำเชื่อมหากันได้

ตัวต่อมาคือ End clamp  มีหน้าที่คล้ายกับ Mid clamp แต่อยู่ที่ปลายของราง ดังนั้นหากติดโซล่าเซลล์แค่แถวเดียว จะใช้ End clamp แค่เพียง 4 ตัวนะ

ประเภทหลังคา และตัวยึดแผงโซล่าเซลล์

ต่อมาอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการติดตั้งก็คือ ตัวยึดแผงกับหลังคา หรือขาตั้ง

เรามาพูดเรื่องตัวยึดแผงกับหลังคากันก่อน ซึ่งโดยหลักๆประเภทกระเบื้องหลังคาจะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันก็คือ กระเบื้อง CPAC แผ่นเมทัลชีท และกระเบื้องลอนคู่ โดยหลังคาเมทัลชีทจะมี 2 แบบคือแบบที่เป็นลอนเรียบๆ กับอีกอันเป็นหลอดๆขึ้นๆมา

หลังคา CPAC กับเมทัลชีทที่มีหลอดๆขึ้นมาจะไม่ต้องทำการเจาะ โอกาสรั่วซึมจะน้อยกว่า โดยหลังคาCPAC จะทำการยึดกับจันทัน ส่วนหลังคาเมทัลชีทจะใช้เป็นคลิปหนีบซึ่งไม่มีการเจาะอะไรให้ต้องกังวล

ส่วนหลังคาเมทัลชีทแผ่นเรียบ กับกระเบื้องลอนคู่ จำเป็นต้องเอาน้อตเดิมอออก และทำการใส่ตัวยึดรางเข้าไปแทนที่ โดยจะต้องทำการอัดซิลิโคลนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการรั่วซึม

สรุป

ในการยึดแผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ที่สำคัญคือตัวยึดแผงกับราง รวมถึงอุปกรณ์ที่ช่วยในการเชื่อมกราวด์ของแต่ละแผง โดยส่วนมากไม่ว่าจะเป็นการยึดบนหลังคาหรือบนพื้นดินจะมีอุปกรณ์ดังกร่าวคล้ายคลึงกันทั้งหมด

ส่วนมากสิ่งที่แตกต่างกันคือตัวยึดหลังคา ซึ่งจะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ หลังคา CPAC หลังคาเมทัลชีท และสุดท้ายคือหลังคาลอนคู่ โดยหลังคา เมทัลชีทจะมีแบ่งแยกย่อยอีก 2 ประเภทคือ แบบแผ่นเรียบและบบเป็นหลอดขึ้นมา ซึ่งอุปกรณ์ในการยึดมีความแตกต่างกัน

หากใครต้องการจะทำด้วยตัวเองต้องมั่นใจว่าเลือกตัวยึดให้ถูกต้องก่อนซื้อ และต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยในการติดตั้งโดยเฉพาะการติดตั้งบนหลังคาลอนคู่ซึ่งมีสถิติในการแตกบ่อยที่สุด