MC4 หางปลา หางหนู บัสบาร์

หัว MC4 โซล่าเซลล์

ทั่วไป

  • หางปลาอันนี้เป็นทองแดงเคลือบดีบุกครับ คุณภาพใช้ได้ ตัวทองแดงค่อนข้างหนา อาจจะไม่หนาเท่าที่เราซื้อตามไทยวัสดุ แต่ราคาต่ำกว่ามากครับ
  • ตามไทยวัสดุมีหลายขนาดให้เลือก แต่ส่วนมากที่ผมดูๆจะไม่ค่อยมีขนาดที่ต้องการ คิดว่าซื้อออนไลน์น่าจะดีกว่า มีขนาดที่ต้องการ ถูกกว่าค่อนข้างเยอะ แล้วก็ใช้เวลาส่งไม่นานครับ (หากจะซื้อร้านอื่นที่ไม่ใช่ที่ผมโพส ให้เลือกที่ส่งของจากในประเทศนะ)

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : สูง

  • อันนี้จำเป็นครับ ต้องใช้เกือบจะทุกส่วนของระบบ อย่าลืมนับตัวที่ต้องต่อกับฟิวส์ด้วยครับ

หางปลาทองแดง แบบชุด

ชุดหางปลาสายไฟ
สั่งซื้อ ชุดหางปลากลม 6-25 sqmm ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • หางปลาอันนี้เป็นแบบเซ็ตครับ ซื้อกล่องเดียวได้หลายตัว
  • เป็นหางปลาทองแดงเคลือบดีบุกเช่นกันครับ แต่คุณภาพจะด้อยกว่าตัวด้านบนครับ
  • มีตั้งแต่ขนาด 6-25 sqmm ครับ
  • แบบชุดจะส่งช้าหน่อย เพราะส่วนมากส่งจากต่างประเทศครับ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : สูง
    ผมจะซื้ออันนี้ไว้ 1 ชุดครับ แล้วขาดอันไหนค่อยซื้อเพิ่มเป็นขนาดๆครับ

ทั่วไป

  • หางหนูผมไว้ใช้สำหรับใส่พวก terminal ของ solar charge controller กับ เบรคเกอร์
  • แนะนำให้ใช้หากเราใช้สายไฟที่ใหญ่กว่าช่อง terminal หรือหากใครใช้เป็นสายไฟแบบเส้นเล็กๆ มันจะมีโอกาสไปโดนอีกช่องนึงทำให้ช๊อตได้ ซึ่งหางหนูช่วยได้ครับ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : กลาง-สูง
  • ปกติผมจะซื้อขนาด 5.5, 16, 25 sqmm ไว้ครับ ขนาด 5.5 จะไว้ใส่สาย PV1-F ขนาด 4-6 sqmm เพราะเป็นทองแดงเส้นเล็ก
  • ส่วนสายขนาด 25-35 sqmm มักจะมีปัญหาเข้า Terminal ของเบรคเกอร์ไม่ได้ครับต้องใช้หางปลาช่วย

หางปลาทองแดง เปลือย แฉก

หางปลาแฉก
สั่งซื้อ หางปลาแฉก 1.25-5.5 sqmm ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • ผมนิยมใช้หากปลาแฉกบริเวณที่ติดกับ Mini ANL Fuse แต่หางปลากลมสามารถใช้ได้เช่นกันครับ
  • เนื่องจากส่วนมากหางปลาแบบเปลือยจะหนากว่า และมีคุณภาพดีกว่าหางปลาแบบฉนวน ผมจึงชอบใช้หางปลาประเภทนี้กับสายไฟที่เป็นสายไฟหลักของวงจร (สายไฟที่ไม่ใช่สายไฟหลักเช่น สายเล็กๆของ BMS)

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : กลาง
  • สามารถใช้หางปลากลมทดแทนได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อแยก

หางปลากลม แฉก มีฉนวน

หางปลาแฉกหุ้มฉนวน
สั่งซื้อ หางปลา ฉนวน 0.5-6 sqmm ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • โดยมากผมใช้หางปลามีฉนวนกับสายไฟขนาดเล็กครับ ขนาดซัก 1-1.5sqmm ซึ่งมักจะไม่ใช่สายไฟหลัก
  • ส่วนที่ผมมักใช้เป็นประจำเช่น สายเส้นเล็กของ BMS
    ชุดนี้ส่งจากต่างประเทศ จะใช้เวลานิดนึงครับ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : กลาง
  • อันนี้ซื้อแบบเป็นเซ็ตมาเลยก็ได้ครับ

Terminal Bus Bar 4 ways

Stud bus bar
สั่งซื้อ Stud Bus Bar ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • ตัวนี้เป็นบัสบาร์สำหรับจุดเชื่อมต่อหลายๆอุปกรณ์
  • หาซื้อค่อนข้างยากครับ ส่วนมากต้องสั่งจากต่างประเทศและมีราคาแพง
  • หากเราใช้บอร์ดที่ติดอุปกรณ์เป็นไม้เราสามารถใช้น๊อตธรรมดาเป็นจุดเชื่อมสายไฟได้ ตู้เหล็กห้ามทำนะครับ
  • มันจะมีบัสบาร์อีกประเภทที่เป็นแบบแกนเดียวยังพอจะหาง่ายหน่อยครับ แต่ราคาก็ไม่เบาเช่นกัน
  • น๊อตที่ใช้เป็น M8 ให้ใช้หางปลา 8mm
  • หากใช้กระแสสูงๆแนะนำให้ใช้ตัวนี้นะ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : ต่ำ-กลาง
  • สามารถใช้น๊อต หรือบัสบาร์แกนเดียวสองแกนได้ หาได้ง่ายกว่า แต่ราคาก็ใกล้ๆกัน

ทั่วไป

  • ใช้ขยายสายจากแผงโซล่าร์เข้า Solar Charge Controller ครับ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : สูง

ทั่วไป

  • หัวต่อขนาน MC4 ครับ มีแบบ 2, 3 และ 4 ทางครับ
  • ใช้ในการต่อขนานแผงโซล่าร์ครับ
  • หากใครจะต่อขนานแผงตั้งแต่ 2 สตริงขึ้นไปอย่าลืมติดฟิวส์ในทุกไลน์นะ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : สูง
  • หากต้องต่อขนานแนะนำให้ใช้ข้อต่อขนานครับ

ทั่วไป

  • อันนีผมไว้เผื่อต้องการจะทำให้แบตสามารถถอดออกจากระบบได้ครับ ถ้าแบตใหญ่หน่อยก็ใช้ XT90 ไปเลย

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : ต่ำ-กลาง
    จะใช้ไม่ใช้ก็ได้ครับ

วิธีการเลือกขนาด connector ประเภทต่างๆ

หางปลาต่อสายไฟ หางหนู บัสบาร์ หน้านี้จะเป็นหางปลาหางหนูรูปแบบต่างๆ หางปลานี่เป็นอะไรที่ผมใช้เยอะมากในระบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็ก

วิธีการอ่านขนาดหางปลาและหางหนูคือ เลขด้านหน้าบอกขนาดสายไฟเป็น sqmm ส่วนเลขด้านหลังบอกขนาดรูน๊อตเป็น mm อย่างเช่น SC16-6 จะใช้กับสาย 16 sqmm กับรูน๊อต 6mm ซึ่งก็คือน๊อต M6 นั่นเองนะ 

จากที่เคยทำมาพวกหางปลาพวกนี้จะทำมาใหญ่กว่าขนาดสาย อย่างเช่นหางปลา SC16 ดันใส่ไฟสายเกรดปกติขนาด 25 sqmm ได้พอดิบพอดี อันนี้ผมไม่เข้าใจเหมือนกันทำไมต้องทำแบบนี้

แต่ถ้าเป็นสายเกรดดีๆอย่าง BCC หรือ Yazaki จะใส่ได้พอดีเลยเช่น หางปลา SC16 ก็ใส่สาย 16 sqmm ของ BCC และ Yazaki ได้พอดี ดังนั้นหากเลือก หางปลา หางหนู พวกนี้ ให้เลือกขนาดเล็กกว่าสาย 1 ไซต์หากใช้สายยี่ห้ออื่นๆ แต่หากใช้สายยี่ห้อ BCC YAZAKI สามารถใช้เบอร์เดียวกับสายได้เลย

ผมใช้หางปลาต่อเข้าฟิวส์ และต่อเข้าแบต ส่วนหางหนูผมจะไว้ต่อเข้า solar charge controller หรือพวกเบรคเกอร์ ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าไม่ต้องใส่ก็ได้ แต่การใส่มีข้อดีสองอย่างคือ สามารถใช้สายไฟที่ขนาดใหญ่กว่าเทอมินอลได้ (เทอมินอลคือช่องต่อสายไฟกับอุปกรณ์) และข้อดีอีกข้อคือ หากเราใส่สายไฟเข้าไปในเทอมินอลไม่ดี แล้วมันมีทองแดงเส้นเล็กๆแยงไปอีกฝั่ง ซึ่งมีโอกาสช๊อตและทำให้อุปกรณ์นั้นๆพังไปเลย ยังไงผมคิดว่าใส่เจ้าหางหนูไว้ปลอดภัยกว่าครับ

อีกอย่างที่อยากจะแนะนำคือแมททีเรียลของหางปลา กับสายไฟควรจะเป็นชนิดเดียวกัน เช่น ถ้าเราใช้สายไฟทองแดง หางปลาเราก็ควรเป็นทองแดงด้วย ถ้าเราใช้สายอลู หางปลาเราก็ควรเป็นอลู ไม่งั้นหากมีการใช้กระแสหนักๆแล้วเกิดความร้อน สองวัสดุจะมีการหดขยายไม่เท่ากันทำให้พอใช้ไปนานๆหางปลากับสายจะหลุดออกจากกันและเป็นอันตรายได้