อินเวอร์เตอร์ เพียวซายเวฟ

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์

ข้อดี

  • ราคาไม่แพงเทียบกับ Inverter หม้อแปลง แต่ราคาสูงกว่า Inverter ยี่ห้อ TBE (ดูด้านล่าง) เล็กน้อย
  • มีหน้าจอแสดงผลแสดงค่าแรงดันระบบทั้งฝั่ง DC และ ฝั่ง AC และมีบอกกำลังไฟที่ใช้ ณ เวลานั้นๆ
  • เป็นอินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave แท้

 

ข้อเสีย

  • มีช่องเสียบปลั๊ก AC เพียงช่องเดียว (แต่ส่วนมาก Inverter ไซต์นี้จะมีช่องเดียวอยู่แล้ว)

  • ตัวพลาสติคที่ต่อ terminal DC ค่อนข้างจะเปราะ ถ้าไขแรงๆจะทำให้แตกได้

  • ส่วนมากะมีแค่ 12-24V หาแบบแรงดัน 48V ขึ้นไปค่อนข้างยาก

  • สายที่ให้มาค่อนข้างเล็ก และฉนวนดูคุณภาพไม่ได้ดีมาก แนะนำให้ทำสายเพิ่มเอง

 

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวผมใช้ยี่ห้อนี้ ยังไม่เจอปัญหาอะไร ผมแนะนำให้เลือก inverter ที่ใหญ่กว่าความต้องการเรา ในกรณีที่มีการกระชากโหลด ซึ่งเรามักจะพบในพวกอุปกรณ์ต่างๆที่มีคอมเพลสเซอร์ ถ้าเลือกขนาดเล็กไปอาจทำให้อินเวอร์เตอร์เสียเร็ว

ข้อดี

  • ช่างไฟฟ้าไทยนิยมใช้กัน
  • ราคาค่อนข้างถูก
  • มี Inverter ขนาดเล็กให้เลือก (แต่ราคาไม่ถูกเท่าไหร่)

 

ข้อเสีย

  • ไม่มีจอแสดงผล
  • ส่วนอื่นยังไม่เคยลองใช้จริง ไว้จะมารีวิวให้ฟังครับ

 

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ยังไม่เคยลองใช้ครับ แต่เห็นคนใช้เยอะ คุณภาพคิดว่าน่าจะโอเคครับ

ข้อดี

  • เป็น Inverter off-grid หม้อแปลงขดลวดทองแดง มีความทนทานสูง
  • สามารถทนต่อการกระชากของโหลดได้ดี หากต้องการจะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งบ้าน ที่มีแอร์ และปั๊มน้ำแนะนำให้ใช้หมอแปลงชนิดนี้ (แต่ส่วนมากกำลังจะรับปั๊มน้ำไม่ไหว)
  • ซ่อมแซมง่ายกว่า Inverter แบบสวิชชิ่ง

 

ข้อเสีย

  • ราคาสูง ตัวนึงราคาหมื่นกว่าบาทครับ
  • น้ำหนักมาก และขนาดใหญ่

 

สรุปความเห็นส่วนตัว 

หากต้องการใช้โหลดที่กระชากมากๆ เช่น แอร์ เครื่องเชื่อม ปั๊มน้ำ แนะนำให้ใช้ Inverter ประเภทนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลี่ยงดีกว่า เนื่องจากราคาแพง และรับโหลดได้ไม่มาก

อีกอย่างส่วนมากถ้าเป็นบ้านที่ติดแอร์ หรือมีปั๊ม จะมีไฟฟ้าเข้าถึงอยู่แล้ว แนะนำให้ใช้เป็นระบบ on-grid น่าจะเหมาะสมกว่าครับ

ข้อดี

  • เป็น Hybrid off-grid inverter หม้อแปลงขดลวดทองแดง มีความทนทานสูง
  • สามารถทนต่อการกระชากของโหลดได้ดี หากต้องการจะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งบ้าน ที่มีแอร์ และปั๊มน้ำแนะนำให้ใช้หมอแปลงชนิดนี้ (แต่ส่วนมากกำลังจะรับปั๊มน้ำไม่ไหว)
  • ซ่อมแซมง่ายกว่า Inverter แบบสวิชชิ่ง

 

ข้อเสีย

  • ราคาสูง ตัวนึงราคาหมื่นกว่าบาทครับ
  • น้ำหนักมาก และขนาดใหญ่

 

สรุปความเห็นส่วนตัว 

หากต้องการใช้โหลดที่กระชากมากๆ เช่น แอร์ เครื่องเชื่อม ปั๊มน้ำ แนะนำให้ใช้ Inverter ประเภทนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลี่ยงดีกว่า เนื่องจากราคาแพง และรับโหลดได้ไม่มาก

อีกอย่างส่วนมากถ้าเป็นบ้านที่ติดแอร์ หรือมีปั๊ม จะมีไฟฟ้าเข้าถึงอยู่แล้ว แนะนำให้ใช้เป็นระบบ on-grid น่าจะเหมาะสมกว่าครับ

ทั่วไป

  • ผมใช้คอนเวอร์เตอร์สำหรับแปลงไฟจาก 24V เป็น 12V เนื่องจากระบบผมเป็น 24V แต่มีอุปกรณ์บางตัวที่ต้องใช้ไฟ 12V เช่น Power relay หรือ Shunt meter
  • บางท่านอาจต่ออุปกรณ์ 12V เข้าไปในแบต 4 ก้อน แต่การทำแบบนั้นจะทำให้แบตเสียบาลานซ์ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ไฟมากก็ตาม
  • ซึ่งราคาคอนเวอร์เตอร์ไม่ได้แพงมาก ผมค่อนข้างแนะนำให้ใช้คอนเวอร์เตอร์มากกว่าการต่อแบตแค่ 4 ก้อนครับ
  • ตัวนี้ยังสามารถต่อออกไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า 12V ได้ด้วย ซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์อยู่นะ

 

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น: กลาง-สูง

อินเวอร์เตอร์ คืออะไร

อินเวอร์เตอร์ คืออุปกรณ์ที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงไปเป็นกระแสสลับ หรือ DC ไปเป็น AC โดยใช้หม้อแปลงขดลวดที่เรียกว่า Toroid หรือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิคควบคุมที่เรียกว่า สวิชชิ่ง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน

หากใครไม่รู้ว่า DC AC คืออะไร ให้ไปทำความเข้าใจบทเรียน “ความแตกต่างไฟฟ้ากระแสตรง กระแสสลับ” ก่อนนะครับ

อินเวอร์เตอร์ มีกี่แบบ

โดยปกติเราจะแบ่งอินเวอร์เตอร์ออกเป็น 2 การใช้งานหลักคือ

  • Grid-tie อินเวอร์เตอร์ (เรียกอีกแบบว่า On-grid Inverter)
  • Off-grid อินเวอร์เตอร์

Grid-tie อินเวอร์เตอร์ คืออะไร มันคืออินเวอร์เตอร์สำหรับระบบ on-grid หรือ ระบบที่เราเชื่อมระบบโซล่าร์ของเราเข้ากับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้า ซึ่ง grid-tie อินเวอร์เตอร์ก็มีอีกหลายชนิดแบ่งแยกย่อยออกไป อย่างเช่น low-volt, high-volt และแยกย่อยต่อไปอีกเป็น Micro, String, Central อินเวอร์เตอร์ ถ้าอธิบายทั้งหมดคงอีกยาวครับ 

อินเวอร์เตอร์มีกี่แบบ

ซึ่งในบทความนี้ผมจะอธิบายเฉพาะ off-grid อินเวอร์เตอร์ ถ้าหากใครสนใจอยากศึกษาประเภทของอินเวอร์เตอร์ทั้งหมด ผมแนะนำให้ไปดูคลิป หรืออ่านบทความได้ที่ “ชนิดของอินเวอร์เตอร์ มีกี่แบบ สำหรับงานระบบโซล่าเซลล์” ผมสรุปประเภทของอินเวอร์เตอร์ทั้งหมดให้ฟังกัน 

แต่หลักๆแล้ว Grid-tie อินเวอร์เตอร์ก็คืออินเวอร์เตอร์ที่ต้องทำงานเมื่อมีไฟจากการไฟฟ้าเท่านั้น มันจะต้องใช้ความถี่ของกระแสไฟฟ้าในการสร้างความถี่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์ให้ใกล้เคียงกัน

Off-grid อินเวอร์เตอร์ อินเวอร์เตอร์อีกประเภทหนึ่ง ที่หากเราทำระบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็กไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มคุ้นเคยกับอินเวอร์เตอร์ประเภทนี้ เพราะเป็นอินเวอร์เตอร์ที่เรานำมาใช้งานในระบบโซล่าเซลล์ off-grid ขนาดเล็กเป็นหลัก *ห้ามนำอินเวอร์เตอร์ประเภทนี้ไปขนานกับไฟบ้านเด็ดขาด!

ส่วนหน้าตามันแยกกันไม่ค่อยออกแต่ให้เราดูจากคำอธิบายเวลาจะซื้อนะ จะมีบอกไว้ชัดเจนตามรูปด้านล่าง ถ้าเป็น Grid-tie ผู้ขายปกติจะเขียนไว้ชัดเจนครับ

อินเวอร์เตอร์ออนกริด

สำหรับงานโซล่าเซลล์ออฟกริด ปกติเราจะเห็นอินเวอร์เตอร์อยู่หลักๆสองแบบด้วยกันคือแบบ “หม้อแปลง” และ “แบบสวิทชิ่ง” อินเวอร์เตอร์สองประเภทนี้มันต่างกันยังไงหละ ข้อสังเกตุง่ายๆเลยคือ แบบหม้อแปลง จะมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และราคาแพง ในขณะที่แบบสวิทชิ่ง จะมีราคาถูกหน่อย น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก ส่วนมากเราจะเจอประเภทหลังมากกว่า ถ้าดูในรูปอาจจะแยกยากหน่อยครับ

อินเวอร์เตอร์แบบสวิชชิ่ง ก็จะมีแยกย่อยไปอีกแต่หลักๆที่เราจะเห็นกันก็จะมี “modified wave” กับ “pure sine wave”  อินเวอร์เตอร์ประเภท modified wave จะราคาถูกกว่าซึ่งผมไม่ได้เอามาลง แต่จะใช้กับพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นอิเลคโทรนิคจ๋าๆไม่ได้ อย่างเช่น พวกจอโทรทัศน์ ลำโพง หากใช้มันจะไม่ถึงกับทำให้เสียนะ แต่มันจะมีคลื่นตามภาพ หรือตามเสียง

ข้อดี ข้อเสีย อินเวอร์เตอร์สวิชชิ่ง และหม้อแปลง

ทีนี้คำถามคือ ถ้าอินเวอร์เตอร์แบบสวิชชิ่งถูกกว่า ทำไมยังเห็นบางคนชอบใช้อินเวอร์เตอร์แบบหม้อแปลงทั้งๆที่มันแพงอยู่หละ? อินเวอร์เตอร์สวิชชิ่งมันถูกก็จริงนะครับ แต่แน่นอนว่าความทนทานมันน้อยกว่าแบบหม้อแปลง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้กับโหลดที่มีการกระชากไฟบ่อยๆจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง อย่างเช่น แอร์ตัวใหญ่ๆ ปั๊มน้ำ เครื่องเชื่อมต่างๆ พวกนี้ไม่เหมาะกับอินเวอเตอร์แบบสวิทชิ่งนะ แต่หากจะใช้ให้เลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ที่ใหญ่กว่า Peak-load ของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ซัก 3-5 เท่า เช่น Peak load 1000w เราควรใช้ Inverter อย่างน้อย 3000-5000W ถ้าเราใช้เครื่อใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์อย่างที่บอก 

เราจะเห็นว่าส่วนมากถ้าเราใช้โหลดสำหรับทั้งบ้านเลย บ้านในที่นี้หมายถึง บ้านจริงๆที่อยู่กันหลายๆคน ไม่ใช่บ้านที่อยู่ชั่วคราว แนะนำให้ใช้อินเวอร์เตอร์ประเภทหม้อแปลงน่าจะเหมาะกว่า เนื่องจากบ้านหลังนึงมีแอร์หลายตัว เวลาคอมแอร์ทำงานสลับตัดต่อ จะมีการกระชากกระแสค่อนข้างเยอะ

แต่หากเป็นการใช้งานบ้านหลังเล็กๆ บ้านสวน หรือแอร์ขนาดเล็กพวกนี้ใช้อินเวอร์เตอร์แบบสวิทชิ่งได้ครับ แต่อย่างไรก็ดีผมแนะนำว่าถ้าเป็นบ้านขนาดใหญ่ส่วนมากเราจะต่อไฟจากการไฟฟ้าอยู่แล้ว หากแค่อยากลดค่าไฟ ให้ใช้ระบบ on-grid ไปเลยน่าจะคุ้มค่าที่สุด

โดยสรุป คือในงานระบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็ก และสำหรับผู้เริ่มต้น เน้นใช้ off-grid อินเวอร์เตอร์ ชนิด pure sine wave แบบสวิทชิ่งน่าจะเหมาะที่สุดนะ