on grid inverter

*หมายเหตุ On grid inverter ที่ผมเอามาลงให้ในทีนี้เป็น inverter ที่ได้รับการรับรองจาก MEA และ PEA ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารุ่นอื่นๆไม่ได้รับการรับรองนะครับ บางรุ่นได้รับการรับรองจาก MEA อย่างเดียว บางรุ่นได้รับการรับรองจาก PEA ที่เดียว ยังไงก่อนซื้อทำการตรวจสอบในลิงค์ “MEA inverter list” และ “PEA inverter list” ก่อนซื้อทุกครั้งนะ เผื่อผมไม่ได้อัพเดทลิสล่าสุด หรือบางร้านอาจจะเปลี่ยนรุ่นแต่ใช้ลิงค์เดิม อีกอย่างคือผมเน้นเฉพาะรุ่นที่ไม่เกิน 10kW ที่เหมาะกับการติดระบบขนาดเล็ก หาซื้อได้ง่าย และเฉพาะรุ่นที่มีขายในลิงค์เท่านั้นนะครับ หากใครจะซื้อรุ่นใหญ่กว่านี้ หรือรุ่นอื่นลองเช็คลิสด้านบนอีกทีครับ

ทั่วไป

  • ได้รับความนิยมสูงมากในต่างประเทศ เนื่องจากทำ Inverter คุณภาพดีและราคาไม่แพง (5kW ราคาอยู่แค่หมื่นต้นๆ)
  • รุ่นที่ได้รับรองจากทั้ง MEA และ PEA คือรุ่น GW5000D-NS (ลองเช็คลิสตามหมายเหตุด้านบนด้วย)
  • จริงๆมีอีกหลายรุ่นที่อยู่ในลิส MEA และ PEA แต่หาซื้อตามตลาด online ทั่วไปค่อนข้างยาก หากสนใจรุ่นอื่นๆอาจต้องติดต่อกับทางผู้จำหน่ายโดยตรง

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ถ้างบไม่เยอะผมเลือกยี่ห้อนี้เป็นอันดับ 1 ครับ ถือว่าราคาดีมากๆเทียบกับยี่ห้ออื่น

ทั่วไป

  • เป็น inverter จากประเทศจีนยี่ห้อนึงที่มีคุณภาพและน่าสนใจ ได้รับความนิยมทั้งในการติดตั้งระบบ Solar rooftop ขนาดใหญ่ และ Solar farm 
  • รุ่นที่ได้รับรองจากทั้ง MEA และ PEA คือรุ่น 3600MTL-10 (ลองเช็คลิสตามหมายเหตุด้านบนด้วย)
  • มีรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นที่อยู่ในลิส MEA และ PEA แต่หาซื้อตามตลาด online ทั่วไปค่อนข้างยาก ยังไม่ค่อยมีคนเอามาขายเท่าไหร่ หากสนใจรุ่นอื่นๆอาจต้องติดต่อกับทางผู้จำหน่ายโดยตรง

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ราคาถือว่าใกล้เคียงกับ Huawei ซึ่งทาง Huawei จะได้รับความนิยมมากกว่า แต่หากใครอยากลอง หรือหา Huawei ไม่ได้ Inverter ยี่ห้อนี้ก็ถือเป็นยี่ห้อที่น่าสนใจเช่นกัน

ทั่วไป

  • ได้รับความนิยมมากๆในไทย มีชื่อเสียงทั้งความทนทาน และ มี mobile application ที่ดี
  • รุ่นที่นิยมใช้สำหรับบ้านพักอาศัยจะเป็นรุ่น Sun 2000 รุ่นที่เป็น 1 เฟสจะปิดท้ายด้วย L ส่วนรุ่นที่เป็น 3 เฟส จะปิดท้ายด้วย M
  • รุ่น Sun 2000 จริงๆแล้วเป็น Inverter hybrid on/off-grid นะครับ คือจะใช้เป็น on-grid อย่างเดียว หรือ hybrid เผื่อไฟดับด้วยก็ได้ แต่….
  • ในการใช้เป็น hybrid จะต้องใช้แบตเตอรี่ที่ใช้กับอินเวอร์เตอร์ได้เท่านั้น และเป็นแบตเตอรี่แบบ high volt ซึ่งไม่ควรทำเองเป็นอย่างยิ่งนะ
  • รุ่นที่ได้รับรองจากทั้ง MEA และ PEA คือรุ่น 3-5 KTL-L1 และ 5-10KTL-M1 (ลองเช็คลิสตามหมายเหตุด้านบนด้วย)

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ราคาค่อนไปทางสูงกว่ายี่ห้ออื่นๆ แต่เป็น inverter คุณภาพสูงครับ ถ้ามีงบ ผมคิดว่าเป็นยี่ห้อนึงที่น่าใช้มากๆ แต่ปัจจุบันหาของค่อนข้างยาก

ทั่วไป

  • INVT เป็นยี่ห้อที่มีความหลากหลายของ inverter มากๆ มีตั้งแต่ on-grid, hybrid, off-grid มีแทบทุกแบบ รวมถึงพวก inverter สำหรับปั๊มน้ำ AC ด้วย
  • รุ่นที่เป็น 1 เฟสจะใช้รหัส MG ส่วนรุ่น 3 เฟสจะใช้รหัส BG
  • รุ่นที่ได้รับรองจากทั้ง MEA และ PEA คือรุ่นที่ขึ้นต้นด้วย IMars รุ่นย่อย MG1K5TL, MG3KTL, BG5KTR, BG10KTR (ลองเช็คลิสตามหมายเหตุด้านบนด้วย)
  • ยังมีรุ่นอื่นๆอีกนะที่อยู่ในลิส แต่บางอันได้แต่ MEA บางอันได้แต่ PEA ลองเช็คดูอีกทีครับ

สรุปความเห็นส่วนตัว 

เป็น inverter ที่ได้รับความนิยมในไทยสูงในทุกๆประเภท แต่ราคาก็ไม่ได้ถือว่าถูกกว่า inverter ยี่ห้อดังๆขนาดนั้น

สำหรับยี่ห้อนี้ถ้าใครอยากลองทำระบบเล็กๆเอง จะมีรุ่น 1.5kW ให้เลือกที่สามารถขออนุญาต PEA MEA ได้ ก็ถือว่าน่าสนครับ หรือใครอยากทำระบบ off-grid หรือ ปั๊มน้ำโซล่าร์ ก็เป็นยี่ห้อที่น่าสนใจยี่ห้อนึง

ทั่วไป

  • SOFAR เป็นยี่ห้อที่เริ่มสร้างชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน อารมณ์คล้ายๆกับ GoodWe
  • SOFAR จริงๆแล้วมีหลายรุ่นที่อยู่ในลิส MEA กับ PEA แต่รุ่นที่อยู่ในทั้ง 2 ลิส หารุ่นค่อนข้างยาก หากจะใช้ยี่ห้อนี้ ลองเช็คลิสของการไฟฟ้าที่บ้านเพื่อนๆตั้งอยู่ด้วยนะครับ จะมีตัวเลือกเยอะกว่านี้มาก
  • รุ่นที่ได้รับรองจากทั้ง MEA และ PEA คือรุ่น 3300TL-G3 (ลองเช็คลิสตามหมายเหตุด้านบนด้วย)

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ผมเคยเห็นบ้านเพื่อนใช้ยี่ห้อนี้ จากที่ดูหน้า application ต่างๆก็ถือว่าใช้ได้ รวมถึงจากการสอบถามเพื่อนก็ยังไม่พบปัญหาอะไรนะ ราคาถือว่าถูกกว่ายี่ห้อดังๆเล็กน้อย

ส่วนตัวผมชอบดีไซน์ และวัสดุมากกว่า INVT (ความเห็นส่วนบุคคล)

วิธีการเลือก On grid Inverter

ผมเคยทำคลิปวิธีการเลือก on-grid inverter ไว้ที่คลิป “การอ่านสเปค กริดไท อินเวอร์เตอร์” ซึ่งในนี้ผมจะบอกขั้นตอนการเลือก inverter รวมถึงการอ่านสเปคต่างๆ เผื่อใครที่ขี้เกียจอ่านครับ ส่วนใครชอบอ่านผมจะเขียนวิธีไว้ดังนี้นะ

ก่อนอื่นเราต้องดูก่อนว่าบ้านเราเป็นไฟ 1 เฟส หรือไฟ 3 เฟส โดยการดูจากหน้ามิเตอร์ไฟบ้านของเรา ซึ่งปกติจะมีเขียนบอกบนหน้ามิเตอร์ ลองดูตัวอย่างหน้ามิเตอร์ที่หน้านี้

และสิ่งต่อมาที่ควรดูคือขนาดติดตั้งที่เหมาะสม โดยในการประมาณขนาดให้ดูที่คลิป ” ติดโซล่าเซลล์ อย่างไรให้คุ้มค่า”

หลักจากเรารู้ ขนาดติดตั้ง และ จำนวนเฟสของไฟฟ้าของบ้านเราแล้ว เราก็มาเลือก inverter กัน โดยก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าบ้านเราอยู่ในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ซึ่งส่วนมากใครที่อยู่ กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะอยู่ในสังกัด MEA ส่วนใครอยู่ต่างจังหวัดจะสังกัด PEA แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องลองเช็คหน้าบิลค่าไฟด้วยนะ

พอเรารู้แล้วว่าเราอยู่ในสังกัดใคร เราก็ค่อยไปดูลิสของ Inverter จากหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ของเราโดยดูจาก “MEA Inverter List” หรือ “PEA Inverter List” ในที่นี้เพื่อที่ว่าเราจะสามารถขออนุญาตการไฟฟ้าได้ หากเราเลือก Inverter ที่ไม่ได้อยู่ในลิสนี้ และต้องการขออนุญาต เราจำเป็นต้องส่งให้หน่วยงานที่ได้รับการรองรับ ทำการทดสอบ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลายหมื่นบาท (ซื้อใหม่ดีกว่า)

แต่หากใครแพลนว่าจะติดแบบไม่ขออนุญาต (ไม่แนะนำ) จริงๆก็ไม่ต้องสนใจลิสนี้ก็ได้

On grid inverter ยี่ห้อไหนดี

พอเราทราบขนาดติดตั้งตั้งเหมาะสมแล้ว เราก็เลือกยี่ห้อตามลิสของการไฟฟ้า โดยหากใครงบเหลือๆ (แต่ละยี่ห้อมันจะต่างกัน 10,000-20,000 บาท) โดยยี่ห้อที่ค่อนข้างจะมีชื่อเสียงมากๆและจัดอยู่ในอันดับต้นๆจะมี Huawei SMA ABB 

โดย SMA กับ ABB ส่วนมากไม่ค่อยมีขายให้คนทั่วๆไป หากสนใจซื้ออาจจะต้องติดต่อกับตัวแทนโดยตรง ซึ่ง SMA และ ABB เป็น inverter สัญชาติเยอรมัน ราคาแพงกว่า Huawei พอสมควร และเท่าที่ได้ยิน ค่าบริการในการดูแลรักษาค่อนข้างสูง

ส่วนยี่ห้อรองลงมา แต่คุณภาพตามที่ได้ยินก็ไม่ได้เป็นรองไปกว่ากันมากก็คือ GoodWe SOFAR SOLAX SunGrow Growatt ก็ถือว่าเป็นยี่ห้อที่ดีเช่นกัน ส่วน INVT ผมไม่ค่อยเห็นเค้าใช้กันในไซต์ขนาดใหญ่ แต่เป็นยี่ห้อที่มีชนิดของสินค้าหลากหลายมากๆ และเป็นที่นิยมมากๆด้วย

ในการเลือกก็ให้เราเลือกยี่ห้อพวกนี้แหละครับ ไม่ต้องไปเลือกยี่ห้ออะไรแปลกมากมาย ส่วนมากดูแค่นี้ก็เหลือแค่ไม่กี่อันให้เลือกแล้ว

เปรียบเทียบสเปค On grid Inverter

ส่วนมากหลังจากดู ลิส PEA MEA เลือกจากยี่ห้อ เราจะเหลือตัวเลือกไม่ได้เยอะอะไรมาก จริงๆสามารถเลือกยี่ห้อในดวงใจ และราคาดีได้เลย แต่ใครยังอยากดูลึกกว่านั้น ก็ต้องไปดูกันที่สเปค

อย่างแรกที่ผมจะดูคือประกันกี่ปี ผมจะเลือกยี่ห้อ รุ่น ที่ประกันยาวและครอบคลุมมากที่สุด เช็คให้มั่นใจจากผู้จำหน่ายว่าประกันจะเริ่มจากวันที่ติดตั้งเสร็จจริงๆ 

หลังจากนั้นผมจะเปรียบเทียบที่ Maximum dc input เพื่อเปรียบเทียบว่ารุ่นไหนใส่แผงได้เยอะกว่า โดยมาก DC to AC ratio จะอยู่ราวๆ 1.1-1.5  มันคืออัตราส่วนกำลังแผง ต่อกำลัง inverter หมายความว่ายิ่งมากเราก็ใส่แผงได้เยอะ

โดยอัตราส่วนที่ผมคิดว่าเหมาะสมกับเมืองไทยจะอยู่ราวๆ 1.2-1.25 ครับ อันนี้แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน และแต่ละพื้นที่ด้วย ไม่ได้เป็นตัวเลขที่ตายตัว

ถัดมาที่ผมจะดูคือ จำนวน MPPT ที่ ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งดีปกติ 5kW จะมี 1-2 MPPT ถ้ามี 2 MPPT เราจะสามารถแยกสตริง และมีโอกาสเกิดพลังงานสูญเสียจากเงาต่างๆได้น้อยกว่าการที่มี 1 MPPT (ใครยังไม่รู้ว่าสตริง อาเลย์ คืออะไรไปดูที่คลิป “PV array คืออะไร ต่างจาก String อย่างไร”)

สิ่งสุดท้ายที่ผมจะดูคือ Efficiency โดยใน datasheet จะมีบอกอยู่ 2 ตัวคือ Efficiency และ Euro efficiency จะดูตัวไหนก็ได้ แต่หากจะเปรียบเทียบต้องใช้ตัวเดียวกันเปรียบเทียบ ซึ่งตรงนี้ส่วนมากจะอยู่ 96-99% ไม่ได้ต่างอะไรกันมาก

สรุป

การเลือก on grid inverter หลักการง่ายๆไม่กี่ขั้นตอนมีตามที่ผมบอกด้านบน ก็คือเลือกประเภท inverter ให้ถูกต้อง ว่าเป็น 1 เฟส หรือ 3 เฟส อยู่ใน MEA PEA inverter list หรือเปล่า ดูขนาด inverter ที่เหมาะกับบ้านเรา

หลังจากนั้นให้ดูยี่ห้อที่มีชื่อเสียง เมื่อเลือกได้แล้วจะเหลือไม่กี่ยี่ห้อ ถ้าอยากเปรียบเทียบให้เปรียบเทียบที่สเปค โดยดูจาก ระยะเวลาการรับประกัน, DC to AC ratio, จำนวน MPPT และ ประสิทธิภาพ เท่านี้ก็จะได้ inverter ที่ดีตัวนึงแล้วครับ