Solar Charge Controller

mppt solar charge controller

ข้อดี

  • ใช้กันค่อนข้างแพร่หลายทั่วโลก หาซื้อง่าย
  • หน้าตาดูดี พลาสติคดูก๊องแก๊งเล็กน้อย แต่ถือว่าโอเคอยู่ครับ
  • สามารถต่อ Wifi เพิ่มได้ แต่ก็ราคาแพงพอสมควร

ข้อเสีย

  • ราคาถือว่าสูงกว่ายี่ห้ออื่นๆในตลาด
  • ตัว Terminal ใหญ่ก็จริง แต่ตัว contact ที่สัมผัสกับตัวทองแดงถือว่าค่อนข้างบเล็ก
  • ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมอย่างเช่น Temperature sensor เพราะว่าในกล่องให้เฉพาะตัววัด Air Temp แต่ไม่มีสายลากไปที่แบต ต้องซื้อเพิ่มเอาเอง
  • มีขนาดที่วางขายไม่เยอะ เห็นสูงสุดตอนนี้มีแค่ 40A
  • ไม่มี setting แบบสำเร็จรูป สำหรับแบตลิเธียมฟอสเฟต

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวผมใช้ยี่ห้อนี้นะ เพราะจากที่ดูรีวิวการใช้งานจริงของหลายๆคน คิดว่าน่าจะเป็นยี่ห้อที่ใช้งานได้ค่อนข้างทนทาน หากไม่ได้ติดเรื่องงบอะไร ก็ลองใช้ตัวนี้ดูได้ครับ

ข้อดี

  • น่าจะเป็นโรงงานที่ทำของ OEM ให้กับแบรนด์ดังๆ (ผมเห็นหลายยี่ห้อหน้าต้าคล้ายๆกัน)
  • ราคาถือว่าถูกกว่า EPever ตัวด้านบนพอสมควรครับ หน้าตาก็ดูดีใช้ได้นะ ถึงแม้จะทำจากพลาสติค แต่เป็นพลาสติคแข็งที่ดูดีกว่ายี่ห้ออื่นๆครับ
  • มี Temperature sensor แบบแปะที่แบตมาให้เลยไม่ต้องซื้อเพิ่ม (200 กว่าบาท)
  • มีทั้งแบบมีจอและไม่มีจอ แบบไม่มีจอราคาถูกลงอีกซึ่งน่าสนใจเหมือนกันครับ ได้ mppt ในราคาพันกว่าบาท
  • Terminal กลางๆ แต่ตัว Contact ใหญ่มากๆ อย่างตัว 20A ช่องสายไฟเข้าได้ 16sqmm แต่ตัวคอนแทคสามารถใส่ส่วนทองแดงได้ถึง 25sqmm หากใครต้องการใช้สายขนาดใหญ่ แนะนำให้ปอกสายให้ลึกขึ้น

ข้อเสีย

  • ราคา Bluetooth และตัว Remote monitor สำหรับตัวไม่มีจอราคาสูงพอสมควรครับ ส่วนตัวผมรุ่นที่ไม่มีหน้าจอควรมีไว้ครับ
  • ตัวนี้เป็นแบรนด์ที่ไม่มีหน้าเว็บที่น่าเชื่อถือ น่าจะเป็นการสั่งทำ OEM แล้วมาแปะแบรนด์มากกว่า
  • ประสิทธิภาพต่ำกว่ายี่ห้ออื่นๆเล็กน้อย (1-2%) ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องเล็กมาก

สรุปความเห็นส่วนตัว 

จากการนำมาทดสอบในคลิปทดสอบ Solar Charge Controller แต่ละรุ่น ผมชอบตัวนี้มากๆ โดยภาพรวมผมให้คะแนนตัวนี้สูงสุด ส่วนเรื่องความทนทาน อาจจะยังไม่สามารถบอกได้ตอนนี้ครับ เนื่องจากต้องลองใช้ซักระยะนึง

ข้อดี

  • MPPT ของ Apple Green ผมยังไม่เคยลองใช้เหมือนกันครับ แต่เป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมสำหรับอินเวอร์เตอร์หม้อแปลง Toroid ครับ

ข้อเสีย

  • ราคา MPPT 30A ราคาโอเคอยู่ครับ แต่ตัว 60A ราคาจะแพงกว่ายี่ห้อ SRNE ถ้าเลือกใช้ระบบ 24V ครับ และแพงกว่า PowMr ถ้าใช้ 48V

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ตัว 30A ราคาโอเคอยู่ครับ ส่วนตัวถ้าใครอยากใช้ 48V แล้วมีปัญหากับ PowMr เรื่อง volt ไหล สามารถใช้ตัวนี้แทนได้ (ผมได้ยินเค้าเรียกกันแบบนี้ เข้าใจว่าน่าจะหมายถึงว่ามี volt ที่สูงกว่า volt ในการชาร์จแบตหลุดออกมา) 

ข้อดี

  • ตัวนี้ผมคิดว่าน่าสนใจมาก เป็น mppt ที่สเปคสูงมากๆครับ สามารถใช้กับระบบได้ถึง 48V
  • ราคาถูกมากๆครับ เทียบกับสเปค รับได้ถึง 60A ซึ่งหากเป็นยี่ห้ออื่นๆนี่ราคาน่าจะไป 2-3 เท่า
  • วัสดุทำจากโลหะ ดูแพงกว่าพลาสติค 
  • ใน 1 ช่อง จะสามารถขนานสายไฟได้ 2 ไลน์ เช่น เข้า PV ด้านบวก จะมีช่องให้เข้าสายได้ 2 เส้นขนานกัน ทำให้สามารถเลือกสายไฟขนาดเล็กลงได้
  • รับ voltage ของ PV input ได้ 190V ยี่ห้ออื่นๆจะอยู่แค่ 100V ดังนั้นสามารถต่ออนุกรมได้หลายแผง

ข้อเสีย

  • การระบายความร้อนด้วยพัดลม ทำให้มีช่องว่างสำหรับฝุ่นและแมลงเข้าไปได้ในช่วงที่ไม่ได้มีการทำงานของเครื่อง รวมถึงตัวเครื่องมีรูค่อนข้างเยอะ มีโอกาสที่จะมีสัตว์เข้าไปด้านในทำให้วงจรช๊อตได้
  • ตัว Terminal มีขนาดที่เล็กมาก และไม่มีตัวกันสายไฟแต่ละเส้น ซึ่งเป็นข้อเสียที่ผมไม่ชอบเอามากๆ
  • ผมไม่ค่อยชอบบริเวณแผงคอนโทรล หรือบริเวณปุ่มที่ดูแล้วน่าจะไม่ค่อยทนเท่าไหร่

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ตัวนี้ผมประทับใจสเปคมากนะ คือให้สเปคเต็ม ราคาไม่แพง สำหรับใครที่ต้องการจะใช้ระบบซัก 30A และมีโอกาสจะขยับขยายในอนาคต ลองดูตัวนี้ได้

หรือใครที่ใช้เกิน 40A ขึ้นไป หรือใช้ระบบ 48V ตัวนี้ก็น่าสนใจมากๆครับ แทบจะเป็นตัวเลือกเดียวของ mppt ที่มีขายในตลาดเลยแหละ

ข้อดี

  • ราคาค่อนข้างถูกครับ แต่แพงกว่าตัวโนเนมนะ
  • ยี่ห้อมีชื่อในประเทศไทยพอประมาน ยี่ห้อนี้ทำพวก inverter อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเยอะครับ

ข้อเสีย

  • Terminal ขนาดเล็กมาก ผมทดสอบใส่สาย PV1-F เบอร์ 4 sqmm ใส่ไม่ค่อยลงเท่าไหร่

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ระบบเล็กๆผมอาจจะเลือกใช้ตัวนี้ครับ แต่ว่าแผงที่เลือกไม่ควรมีแรงดันสูงมากครับ เพราะเป็น Solar Charge Controller ประเภท PWM หากใช้แผงแรงดันสูงเกินไป จะเสียพลังงานเยอะ

ใช้แผงซัก 150-170W ที่มี Vmpp อยู่ที่ 18V ทำการต่อขนานไม่เกิน 2 แผง น่าจะเหมาะสมที่สุดครับ

PWM Charge Controller

PWM ราคาถูก
สั่งซื้อ PWM 10-60A ดูวีดีโอทดสอบ

ข้อดี

  • ราคาถูกมากๆ ตัวนี้ราคาร้อยกว่าบาท น่าจะเรียกว่าถูกที่สุดในตลาดแล้วก็ว่าได้ ทำให้ได้รับความนิยมเยอะมาก
  • มีคนใช้ค่อนข้างเยอะ หากเกิดปัญหามีคนให้ถามเยอะครับ

ข้อเสีย

  • เท่าที่เห็นคำถามของคนที่ใช้รุ่นนี้จะมีปัญหาค่อนข้างเยอะ เช่นพอใช้ไปซักพักแล้วเกิดปัญหาต่างๆ อย่างเช่นระบบแสดงแรงดันไม่นิ่ง แต่อาจจะเป็นปัญหาการใช้งานผิดด้วยก็เป็นไปได้ครับ

สรุปความเห็นส่วนตัว 

ส่วนตัวผมอาจจะขยับไปเล่นตัวถัดไปมากกว่า แต่หากใครอยากซื้อมาลองก็ลองได้ครับ ราคาถูกมาก

EPever Temperature Sensor

Epever temperature sensor
สั่งซื้อ Temperature Sensor ดูวีดีโอทดสอบ

ทั่วไป

  • อย่างที่บอกไปว่าเจ้า EPever แพงก็แพง แถมยังไม่มี Temp sensor แบบแปะให้อีก อันนี้เลยต้องซื้อเพิ่มครับ ประมาน 200กว่าบาทครับ

ความจำเป็น

  • ระดับความจำเป็น : กลาง
  • ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่ว่าต้องมี แต่มีก็ดีครับ ใครที่ใช้กระแสต่ำๆ แบตไม่ร้อน ไม่ต้องใช้ก็ได้
  • แต่หากใครใช้กระแสสูงๆแบตร้อนบ่อยๆควรใช้ เพราะแรงดัน และกระแสจะเปลี่ยนตามอุณหภูมิแบตตลอด

เลือก Solar Charge Controller MPPT หรือ PWM ดีกว่ากัน

Solar Charge Controller หรือที่คนไทยชอบเรียกกันว่า โซล่าร์ชาร์ทเจอร์ เป็นอุปกรณ์ที่คนที่มือใหม่ชอบละเลย ส่วนมากมือใหม่จะ งง ว่าทำไมเราต้องมี solar charge controller ด้วยหละ? ผมขออธิบายแบบนี้ คนส่วนมากมักจะจินตนาการว่าเรามีแผงโซล่าร์ที่ 30V ซึ่งมันก็น่าจะชาร์ทแบตเตอรี่ 12V ได้ปกติหนิ จริงไหม

ความเป็นจริงก็ใช่นะ แต่สิ่งที่จะตามมาคือแบตที่เสียอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโดยธรรมชาติแบตเตอรี่ลิเธียมไม่ชอบการชาร์ทด้วยแรงดันที่สูงจนเกินไป และไม่ชอบการชาร์ททิ้งไว้หลังจากแบตเต็มแล้ว ซึ่ง Solar Charge Controller นี่เองที่เป็นตัวช่วยควบคุมคอนดินชั่นต่างๆในการชาร์ทที่แบตเตอรี่ไม่ชอบ

โดยปกติ Solar charge controller จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ Pulse Width Modulation (PWM) และ Maximum Power Point Tracking (MPPT) ซึ่ง MPPT จะมีราคาแพงกว่าแต่ประสิทธิภาพในการชาร์ทก็สูงกว่าเช่นกัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหละ? ผมจะอธิบายให้ฟังแบบให้เข้าใจง่ายๆนะครับ 

หากใครขี้เกียจอ่าน และอยากดูคลิป สามารถไปดูการทดลองเปรียบเทียบระหว่าง MPPT vs PWM ได้ที่คลิป “บททดสอบ Solar Charge Controller MPPT vs PWM”

Solar charge controller

MPPT เป็นเครื่องมือที่ช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าที่มาจากแผงโซล่าร์ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่ อย่างเช่น แผงโซล่าร์เป็นแบบ 60 เซลล์ แรงดันช่วงปกติโดยประมานอยู่ที่ 30V ในขณะที่แบตเตอรี่เราอยู่ที่ 12V

หากใครไม่เข้าใจว่าทำไมแผงโซล่าร์ 60 เซลล์ถึงต้องมีแรงดัน 30V ไปอ่านที่บทความนี้นะ “วิธีการเลือกแผงโซล่าเซลล์”

เจ้าตัว MPPT จะเช็คแรงดันของทั้งโซล่าเซลล์ และแบตเตอรี่ แล้วทำการปรับแรงดันในฝั่งโซล่าเซลล์ และกระแสให้ใกล้เคียงกับที่เหมาะสมกับแบตเตอรี่นั้นๆ ซึ่ง “คีย์เวิดของความแตกต่างระหว่าง MPPT และ PWM อยู่ตรงนี้” ก็คือ MPPT จะปรับกระแสด้วยนั่นเอง ซึ่งตรงนี้เป็นความแตกต่างของ MPPT และ PWM ซึ่งเจ้าตัว PWM จะไม่มีการปรับกระแส จะทำการปรับแต่แรงดัน

ดังนั้นลองคิดดูว่าหากเราใช้แผงโซล่าร์เซลล์ที่มีแรงดันสูงกว่าแบตมากๆเราจะสูญเสียพลังงานไปเท่าไหร่ เช่นแผงของเรา 30V 10A เราควรจะได้ไฟเท่ากับ 30V x 10A = 300W หากเราใช้ PWM เรากลับชาร์ทไฟเข้าแบตแค่ 12V x 10A = 120W เท่ากับเราสูญเสียพลังงานไปครึ่งนึง

หากใครเป็นมือใหม่ยังไม่เข้าใจพื้นฐานการคำนวนกำลังไฟฟ้า ต่างๆ ไปดูวีดีโอนี้ก่อนนะครับ “พื้นฐาน 10 บทสอนไฟฟ้าเบื้องต้น” ผมปูพื้นฐานให้ตั้งแต่ต้นจนถึงทำระบบเองได้เลย

ดังนั้นหากเราสังเกตุดีๆหากเราใช้แรงดันแบตเตอรี่ที่ไม่ต่างกับแผงโซล่าเซลล์มาก การใช้ MPPT อาจจะไม่ได้เห็นความแตกต่างกับ PWM อย่างชัดเจน ดังนั้นหากลองไปคิดๆดูแล้ว มันแล้วแต่กรณีว่าจะใช้ Solar Charge Controller ชนิด PWM หรือ MPPT ดีกว่ากัน เพราะ PWM ก็ราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว

แต่หากเรามีความเข้าใจ เรายังสามารถใช้ PWM โดยลดพลังงานสูญเสีย โดยการเลือกแผงที่แรงดันไม่ต่างกับแรงดันระบบมากนัก PWM ก็สามารถใช้ได้ดีในราคาที่ถูกกว่าหลายเท่าเช่นกัน

แต่ Solar Charge Controller ประเภท MPPT ก็ไม่ได้มีข้อดีเพียงแค่นั้น ซึ่งการใช้ MPPT มันดีกว่าตรงที่สามารถใช้แผงที่ voltage ต่างกับระบบมากๆได้ มันจะเห็นผลตอนแผงเราโดนเงา หรืออากาศเย็นนั่นเอง

หากเราใช้แผงที่ voltage ไม่ต่างกันมาก แล้วโดนเงาบังบางส่วน หรืออากาศร้อน voltage ต่ำจนกระทั่งชาร์ทเข้าระบบไม่ได้ จะทำให้เราไม่ได้ไฟไปเลยก็เป็นไปได้ครับ