วิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านพักอาศัย วิธีง่าย

ในบทความก่อนผมได้อธิบายวิธีคำนวณขนาดของระบบโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัยไปแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรทำก่อนการคำนวณจุดคุ้มทุน หลังจากที่เราได้กำลังการติดตั้งแล้ว เราจะสามารถคำนวณจุดคุ้มทุนได้ โดยผมจะคำนวณให้ดู 2 แบบนะ แบบในเคสที่คนชอบเอามาใช้โฆษณากัน กับเคสจริง

สารบัญ

บทความต่อไปนี้ ผมสรุปมาจากคลิปด้านล่างครับ ใครขี้เกียจอ่านก็ฟังในคลิปเอานะ ใครอยากฟังใน “การคำนวณจุดคุ้มทุนสำหรับโซล่าเซลล์อย่างง่าย”

ถ้าใครคิดว่ามีประโยชน์ อยากสนับสนุน ฟังสาระดีๆ ช่วยกด Like กด Share กด Subscribe

ช่อง “Energy for Dummies” ให้ผมด้วยนะ

5 สิ่งที่มีผลต่อจุดคุ้มทุนระบบโซล่าเซลล์

ก่อนการคำนวณทั้งสองแบบ เราต้องดูให้มั่นใจว่าบ้านเราเหมาะกับการติดตั้งโซล่าเซลล์หรือเปล่าด้วยนะให้ดูบทความนี้เสริมก่อนตัดสินใจติดตั้งครับ “บ้านเราเหมาะกับการติดโซล่าเซลล์ไหม”

ทีนี้การคำนวณจุดคุ้มทุนของโซล่าเซลล์ เหมือนกับการคำนวณกำไรผลตอบแทนทั่วๆไป โดยสิ่งที่มีผลต่อการคำนวณจะมีอยู่ 5 ข้อด้วยกันดังนี้

  • ราคาติดตั้ง
  • ราคาค่าไฟ
  • จำนวนชั่วโมงแสงอาทิตย์
  • ค่าใช้จ่ายในการดูแล
  • จำนวนวันที่เราใช้ไฟจริง (เช่นวันหยุดเราใช้ไฟหรือเปล่า)

ผมจะให้สูตรสำเร็จไปเลยนะ ดูสูตรอย่างเดียวจะเข้าใจยากหน่อยนะครับ เด๋วผมจะใส่ค่าแต่ละค่าให้ดูครับ

จุดคุ้มทุนโซล่าเซลล์

คำนวณจุดคุ้มทุนระบบ 10kW (เป็นไปได้ยาก)

อันนี้เป็นเคสที่เป็นไปได้ยากหน่อย เคสนี้คือไม่มีการปล่อยไฟทิ้งเลย ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เพราะต้องมีคนอยู่บ้านทั้งวัน มีการใช้แอร์ ใช้ไฟนู่นนี่ ไม่ใช่แค่วันธรรมดา รวมถึงวันหยุดต่างๆด้วย ให้แทนสูตรประมาณนี้ได้เลยครับ เช่นสมมติผมติดตั้งระบบ 10kW ราคาซัก 320,000 บาท ตามบทความ “ราคาโซล่าเซลล์”

ระยะเวลาคืนทุน

จะเห็นว่าระบบจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 5.8 ปีเท่านั้นเอง ซึ่งส่วนมากเลขนี้แหละที่เค้าชอบใช้ในการโฆษณา บางที่ไม่ใส่ 0.9 เป็นค่าดูแลระบบด้วย จะทำให้ระยเวลาคืนทุนเร็วขึ้นไปอีก 

คำนวณจุดคุ้มทุนระบบ 10kW (เคสจริง)

แต่หากเราไปดูระบบจริงๆ ส่วนมากออฟฟิศกับบ้านมักจะแยกกัน ทำให้มีการใช้ไฟฟ้าไม่หมดในบางวัน ทำให้เราต้องหักวันเหล่านั้นออกไป เช่น วันอาทิตย์ ปีนึงมีประมาณ 55 วัน วันหยุดนักขัตฤกษ์อีกปีละ 20 วัน

ดังนั้นวันที่เราเอามาคำนวณตีไปแค่ 290 วันก็พอ การคำนวณจะเป็น

ก็จะเห็นว่าระยะเวลาในการคุ้มทุนช้าลงอยู่ที่ 7.3ปี แต่สำหรับผมแล้วเคสนี้ยังถือว่าดีเกินไป เพราะว่าเป็นไปได้ยากมากที่ทุกอย่างจะสมบูรณ์ขนาดนี้ เช่น ความชันของหลังคา การโดนเงาแดดต่างๆ การล้างแผง หรือแม้กระทั่งมีการปิดระบบเพื่อซ่อมแซม

โดยเฉลี่ยหากรวมข้อจำกัดต่างๆด้านบน ระยะเวลาการคืนทุนจะอยู่ราวๆ 8-10 ปีครับ แต่หากเลือกผู้ติดตั้งที่ไม่มีคุณภาพ ระบบเกิดปัญหาบ่อย ความคุ้มค่าอาจจะยืดไปถึง 12-15 ปีก็เป็นไปได้

ยังไงเพื่อนๆลองเอาสูตรไปคิดคำนวณระบบของเราดูนะว่ามันจะคืนทุนตามที่ผู้ติดตั้งบอกหรือเปล่า

โปรแกรมคำนวณจุดคุ้มทุน ระบบโซล่าเซลล์

หากใครขี้เกียจมานั่งคำนวณเอง ผมมีโปรแกรม Excel คำนวณจุดคุ้มทุนสำหรับระบบโซล่าเซลล์มาให้ดาวน์โหลดกันในลิงค์ด้านล่างนะ

เราแค่ใส่ค่าสองสามค่าในช่องสีเหลือ ระยะเวลาคืนทุนของเราจะคืนกลับมาในช่องสีเขียว ซึ่งต้องบอกก่อนว่าเป็นแค่การคำนวณแบบหยาบๆเท่านั้น ใน excel คำนวณผมจะเปลี่ยนค่า default จาก 0.9 เป็น 0.8 นะ เนื่องจากว่าผมจะเผื่อเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอินเวอร์เตอร์ โดยตั้งสมมติฐานว่าอินเวอร์เตอร์เสียหลังจากผ่านไปซัก 10 ปี

ดาวน์โหลด “โปรแกรมโซล่าเซลล์คำนวณจุดคุ้มทุน” ได้ที่นี่นะ

สรุป

ระยะเวลาการคุ้มทุนจะขึ้นอยู่กับ 5 ตัวแปรหลักด้วยกันคือ ราคาติดตั้ง ราคาค่าไฟ จำนวนชั่วโมงแสอาทิตย์ ค่าดูแล และจำนวนวันที่เราใช้ไฟจริง

โดย 2 ตัวแปรหลังเป็นตัวแปรที่สำคัญและผู้ติดตั้งมักไม่ได้คิดจุดนี้เวลาเอาตัวเลขระยะเวลาคุ้มทุนมาโฆษณาต่างๆ ดังนั้นก่อนการติดตั้งหากเราต้องการให้มั่นใจว่าระบบที่เราติดจะมีความคุ้มค่า ให้เราคำนวณจุดคุ้มทุนด้วยตัวเอง โดยต้องเริ่มจากการหาขนาดของระบบที่เหมาะสมเป็นอย่างแรกนั่นเอง